“มุ่งมั่นพัฒนาให้ได้มาตรฐาน บริหารงานให้ได้ผล จุดมุ่งหมายคือตำบล ประชาชนได้รับคุณค่า ในการพัฒนาที่ยั่งยืน”

คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน


(โลโก้) อบต
คู่มือการปฏิบัติงาน 
ทะเบียนประวัติข้าราชการ
และพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น






องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม

คำนำ

แบบทะเบียนประวัติของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มจัดทำตั้งแต่มีการจัดตั้งรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นและเริ่มบรรจุบุคคลเข้าทำงานในองค์กรส่วนท้องถิ่น  โดยกำหนดให้ใช้รูปแบบและระเบียบตามแบบของข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม  ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการบรรจุข้าราชการและพนักงาน เข้าทำงานในส่วนท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ทำให้มีบัตรประวัติประจำตัวบุคลากร มีจำนวนมากไปด้วย

ซึ่งในการกรอกบัตรประวัติดังกล่าวเป็นการกรอกตามความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำให้แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของแต่ละคน เนื่องจากยังไม่เคยมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติงานทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน  จึงทำให้บัตรประวัติดังกล่าว เกิดความผิดพลาดและแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น 

ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปโดยถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  จึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น โดยอาศัยแนวทางตามแบบของข้าราชการพลเรือนเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นต่อไป



















 




ทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
บัตรทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น 
เป็นเอกสารสำคัญที่ข้าราชการทุกคนต้องมีและใช้ประโยชน์ไปตลอดชีวิตของการรับราชการและหลังจากเกษียณอายุราชการ  เป็นเอกสารอ้างอิง และเป็นบันทึกประวัติบุคคลของทางราชการในส่วนที่จำเป็นและ มีความสำคัญ   โดยจัดทำขึ้นตาม
1.ประกาศ ก.จ.จ. , ก.ท.จ. , ก.อบต.จังหวัด  เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  
ข้อ 358,388 และ355 ตามลำดับ ได้กำหนดไว้ว่า  “การจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการ และพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลักษณะ รูปแบบ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ วิธีการบันทึกรายการในทะเบียนประวัติ และการจัดทำแฟ้มทะเบียนประวัติ  ให้นำกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี ที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน มาบังคับใช้โดยอนุโลม”
2.หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร  1007/ว 28 ลงวันที่ 15 กันยายน 2518 เรื่อง  ก.พ.7 แบบใหม่และแฟ้มประวัติข้าราชการ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1007/ว 40 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2518 เรื่อง   คู่มือการจัดทำ ก.พ.7 แบบใหม่
3.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ พ.ศ. 2548ข้อ 4 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า “สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอื่นซึ่ง มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร อาจนำระเบียบนี้ไปใช้ได้โดยอนุโลม”
ความสำคัญของบัตรประวัติ
1.ต่อตัวเจ้าของประวัติที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น เมื่อรับราชการอยู่ ใช้ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน การ
ปรับปรุงตำแหน่ง  การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ใช้ในการนับอายุราชการ นับวันทวีคูณ การคำนวณบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
2.และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ ในการบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคคลากร การวางแผนงานด้านการงบประมาณและการคลัง เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ การโอนย้าย การวางแผนกำลังพล การวางแผนงบประมาณประจำปี  การสรรหาบุคลากรที่ความสามารถในแต่ละสายอาชีพ ให้เพียงพอและเหมาะสมกับตำแหน่ง การจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถบุคลากรในด้านที่ขาดแคลน  เป็นต้น
แฟ้มทะเบียนประวัติ 
เป็นแฟ้มที่เก็บบัตรประวัติและเอกสารที่อ้างอิง เกี่ยวข้องหรือใช้ยืนยันข้อมูลในบัตรประวัติทั้งหมดที่มีความ
สำคัญ ต้องใช้เอกสารของทางราชการประกอบ เช่นสำเนาหลักฐานการศึกษา ใบเกิด ทะเบียนบ้าน หนังสือสั่งการต่าง ๆ เป็นต้น
บัตรประวัติมีการบันทึกข้อมูลสำคัญ 2 ส่วน
1.ข้อมูลส่วนตัว ชื่อสกุล ว//ป เกิด คู่สมรส บิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกอบรม การดูงาน สถานที่
เกิด สถานที่อยู่ ภาพถ่าย ลายมือชื่อใต้ภาพถ่าย
2.ข้อมูลการปฏิบัติราชการ หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง  บันทึกการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ความผิดทางวินัย อัตราเงินเดือน บัตรประวัติ ของ อบจ. มีสีขาว (เหมือนแบบ ก.พ.7) บัตรประวัติ ของ อบต. มีสีเขียว และของเทศบาล มีสีเหลือง ทุกแบบเป็นกระดาษแข็ง หนา 310 แกรม เพื่อความคงทน
การจัดทำบัตรประวัติ
-ให้ส่วนราชการผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. 
ที่ สร 1007/ว 40 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2518 เรื่อง คู่มือการจัดทำ ก.พ.7 แบบใหม่
-ต้องจัดทำบัตรประวัติให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งให้เข้ารับราชการ และต้อง
จัดทำตามจำนวน ดังนี้
-2-

-อบต.และเทศบาล จัดทำ 3 ชุด ทุกชุดต้องเหมือนกันทั้งหมด (ทั้ง 3 ชุด ที่จัดทำเป็นต้นฉบับทั้งหมด  ไม่ใช่
สำเนา)  ชุดแรกเก็บไว้ที่หน่วยงานต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ท้องถิ่นจังหวัด ชุดที่ 3 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ  ก.ท. , .อบต.)
-อบจ. จัดทำจำนวน 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้ที่ต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ  ก.จ.)
การบันทึกรายการในบัตรประวัติ มี 2 ส่วน
1.ส่วนที่ 1 เจ้าของประวัติเป็นผู้เขียนบันทึก ประกอบด้วย  ตำแหน่งชื่อ สกุล ว//ป เกิด วันเกษียณอายุ
สถานที่เกิด ที่อยู่ถาวร ชื่อคู่สมรส ชื่อบิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกและการอบรม
2.ส่วนที่ 2 พนักงานประวัติเป็นผู้เขียนบันทึก(ปลัด อบจ. ปลัด อบต. และปลัดเทศบาล) ประกอบด้วย  ชื่อ
หน่วยงานต้นสังกัด อำเภอ จังหวัด ตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง วันเริ่มรับราชการ บันทึกการเปลี่ยนแปลง ความผิดทางวินัย ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การบันทึกข้อมูลลงในบัตรประวัติ
ข้อมูลที่บันทึกจะต้องมีความสำคัญ เพราะจะเป็นเอกสารอ้างอิงของทางราชการต่อไปในอนาคต จึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น ต้องบันทึกไปตามความเป็นจริง ตามหลักฐานที่มีอยู่จริงต้องเขียนบันทึก  ด้วยปากกาสีดำหรือน้ำเงิน ลายมือตัวบรรจง ชัดเจนและอ่านง่าย 
ตัวอย่างที่ 1
บัตรประวัติพนักงาน
                                                                                                                                                                                               
                                                                             อำเภอ…นครชัยศรี….จังหวัด..นครปฐม
องค์การบริหารส่วนตำบล…ท่ากระชับ.สำนัก/ส่วน.สำนักงานปลัด อบต...ตำแหน่ง.บุคลากร ..เลขที่ตำแหน่ง..01-0108-001
 
                                               

หมายเหตุ ให้ใส่ที่ตั้ง อำเภอ………  จังหวัด…….…  เพิ่มเติมไว้ที่มุมขวาด้านบน(ในบัตรจริงไม่มีการระบุไว้)
- ภายถ่าย มีขนาด 2 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน เปลี่ยนใหม่ ทุก 7 ปี (เจ้าของบัตรบันทึก)
-          ใต้ภาพถ่าย  ลงลายมือชื่อเจ้าของประวัติกำกับไว้
-           
-          ให้เพิ่มเติมเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักไว้ใต้ลายมือชื่อเจ้าของประวัติด้วย ซึ่งในบัตรจริงไม่มีการระบุไว้ (เจ้าของบัตรบันทึก)

ตัวอย่างที่ 2
 








                            

1-1234-12345-12-1
 
 


-3-

1.คำนำหน้าชื่อ ฐานันดร ยศ ชื่อ สกุล ในปัจจุบัน ที่ดำรงอยู่ (เจ้าของบัตรบันทึก)
2.วัน เดือน ปีเกิด (เจ้าของบัตรบันทึก) มีความสำคัญมากเพราะจะเป็นวันที่ใช้กำหนดการเกษียณ
อายุราชการเพื่อคำนวณการคิดบำเหน็จบำนาญต่อไป  ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ และต้องตรงกับทะเบียนบ้าน ใบเกิด บัตรประจำตัวประชาชน เช่น 1 มกราคม 2530(ให้ใช้ ปี พ.ศ.) ในหัวข้อนี้  พนักงานประวัติต้องตรวจทานโดยรอบครอบ ให้ถูกต้องและตรงกันในทุกๆ ฉบับ
3.เกิดที่อำเภอ ……..จังหวัด…….ตามใบเกิด (เจ้าของบัตรบันทึก)
     4.ที่อยู่ถาวร….เลขที่ ..หมู่ที่…ตำบล…อำเภอ…จังหวัด….(เจ้าของบัตรบันทึก)
           5.เริ่มรับราชการเมื่อ…..(พนักงานประวัติบันทึก) ว/ด/ป ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ (ให้ใช้ปี พ.ศ.)…
คือวันที่เริ่มปฏิบัติงานจริงๆ อาจเป็นวันเดียวกันกับวันสั่งบรรจุก็ได้ หรือหลังจากวันนั้นก็ได้ เพราะอาจมีบางกรณี ผู้ได้รับการบรรจุมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานภายหลังวันที่ได้รับการบรรจุก็มี จึงให้บันทึกวันเริ่มปฏิบัติงานจริง            
          ยกเว้นการบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเริ่มปฏิบัติราชการในวันเดียวกันกับวันที่สั่งบรรจุ ทั้งนี้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 กำหนดว่า เมื่อทางราชการกำหนดเวลาที่จะบรรจุและแต่งตั้งแล้ว ผู้สอบแข่งขันได้ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการทันที  ถ้าไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดก็จะต้องถูกยกเลิกการขึ้นบัญชี
            กรณีผู้ย้ายโอนมาจากข้าราชการทหาร จะถือว่าได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหาร  เมื่อใดนั้น โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 กำหนดว่า“ข้าราชการทหาร”หมายความว่า  ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร มิได้รวมถึงนักเรียนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนของทางราชการทหาร จึงถือได้ว่าได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทหารภายหลัง  จากที่ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายสิบทหารบกแล้ว ขณะเป็นนักเรียนนายสิบแม้จะได้ขึ้นเป็นทหารกองประจำการแล้วก็ตาม ก็มีสภาพเป็นเพียงทหารกองประจำการ มิได้ถือว่าเป็นข้าราชการทหาร แต่อย่างใด ตามหนังสือกรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม ที่ กห 0201/2175 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 เรื่อง การการนับวันบรรจุเข้ารับราชการเป็นทหาร
            6.   วันเกษียณอายุ (เจ้าของบัตรบันทึก) ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ ในหัวข้อนี้ใช้คำที่ไม่ชัดเจนทำให้มีการตีความและบันทึกหลากหลายมาก ส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นวันเกษียณราชการ แต่ ก.พ.ให้ความเห็นว่า
            * วันเกษียณอายุ คือวันที่มีอายุครบ 60 ปี จึงให้บันทึกวันที่เจ้าของบัตรประวัติมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ คือ วันก่อนวันเกิด 1 วัน และปีเกิดบวก 60 เช่น เกิดวันที่ 12 มกราคม 2509 จะเกษียณอายุวันที่ 11 มกราคม 2569
            * วันเกษียณราชการ ม.19 แห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่25) (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551) ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วเป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ เช่น เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 2509(เกิดในปีงบประมาณ 2510)จะเกษียณราชการวันที่ 1 ตุลาคม 2570  
            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในบัตรประวัติจะไม่มีวันเกษียณราชการแต่อย่างใด
            7.  ชื่อคู่สมรส  ชื่อและนามสกุล ตามทะเบียนสมรส  สถานที่ประกอบอาชีพ ระบุหน่วยงาน สถานที่ตั้ง
(เจ้าของบัตรบันทึก)
            8.  ชื่อบิดา-มารดา ที่อยู่ปัจจุบัน ดูตามใบเกิด และทะเบียนบ้าน (เจ้าของบัตรบันทึก)




-4-

ตัวอย่างที่ 3
1.ชื่อ พ.ต.ท. ดร...รักชาติ  ไทยเจริญ
2.วัน เดือน ปีเกิด.. 25 มกราคม 2508
3.เกิดที่อำเภอ…นางรอง……
จังหวัด………นครนายก
4.ที่อยู่ถาวร.. 3/2 ม.6 ต.ในเมือง
อ.เมือง..จ.นครนายก
5.เริ่มรับราชการเมื่อ1กุมภาพันธ์ 2530
6. วันเกษียณอายุ..24 มกราคม 2568
7.ชื่อคู่สมรส ………นางสุดโสภา  ไทยเจริญ……
   สถานที่ประกอบอาชีพ.โรงพยาบาล จ.นครนายก อ.เมือง จ.นครนายก..
8.ชื่อบิดา-มารดา ……นายศักดิ์-นางศรี  ไทยเจริญ……
   ที่อยู่ปัจจุบัน……3/1 ม.6 ต.ในเมือง อ..เมืองฯ จ.นครนายก...
           9.   ประวัติการศึกษา (พนักงานประวัติบันทึก)
                  9.1  สถานศึกษา  ชื่ออย่างเป็นทางการควรบันทึกตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุด
                  9.2  วุฒิที่ได้รับ -ให้ระบุสาขาหรือวิชาเอกที่เรียนด้วย เพราะจะมีประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลและต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่ ก.พ.ให้การรับรองแล้วเท่านั้น  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0706/2/ว 7 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2531 เรื่องการนำวุฒิที่ข้าราชการได้รับเพิ่มขึ้นระหว่างรับราชการบันทึกลงในทะเบียนประวัติ
                  9.3  ตั้งแต่ – ถึง (เดือน - ปี)   เดือน- ปี พ.ศ.ที่เริ่มเข้ารับการศึกษา – เดือน-ปี พ.ศ. ที่จบการศึกษา
ตัวอย่างที่ 4
9.ประวัติการศึกษา
สถานศึกษา
วุฒิที่ได้รับ
ระบุสาขาวิชาเอก(ถ้ามี)
ตั้งแต่ – ถึง
(เดือน – ปี)
โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น
โรงเรียนอำนวยศิลป์
ม.ธรรมศาสตร์
สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
ประถมศึกษาปีที่ 6
มัธยมศึกษาปีที่ 6
รัฐศาสตร์บัณฑิต(การเมืองการปกครอง)
รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
พ.ค.2510-ก.พ.2516
พ.ค.2516-มี.ค.2522
มิ.ย.2522-มี.ค.2536
พ.ค.2536-ก.พ.2537

          10. ประวัติการดูงานหรือฝึกอบรม (พนักงานประวัติบันทึก)
                10.1  สถานที่ ชื่อ สถาบัน หน่วยงาน
                10.2  วุฒิที่ได้รับ  ชื่อหลักสูตรหรือวิชา
                10.3  ตั้งแต่ – ถึง (เดือน - ปี)  เดือน/ปี ที่เริ่มเข้ารับการดูงาน/ฝึกอบรม– ที่จบหลักสูตร(ให้ใช้ ปี พ.ศ.)






-5-

ตัวอย่างที่ 5
10.ประวัติการดูงานหรือฝึกอบรม
สถานที่ดูงานหรือฝึกอบรม
วุฒิที่ได้รับ

ตั้งแต่ – ถึง
(เดือน – ปี)
โรงเรียนการปกครองส่วนท้องถิ่น
โรงเรียนปลัดอำเภอ
โรงเรียนนายอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง)
นายอำเภอ
มิ.ย.2539-ส.ค.2539
ม.ค.2540-มี.ค.2540
มี.ค.2541-ก.ย.2541

11. บันทึกการเปลี่ยนแปลง  (พนักงานประวัติบันทึก)
                เป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ของเจ้าของประวัติ เช่น การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด เปลี่ยน
สายงานข้ามสายงาน การเปลี่ยน ตำแหน่ง เป็นต้น ต้องลงเลขคำสั่งและวันที่ ที่อนุมัติตามคำสั่งด้วย และลงลายมือชื่อของพนักงานประวัติผู้แก้ไขกำกับด้วยทุกครั้ง
ตัวอย่างที่ 6
11.บันทึกการเปลี่ยนแปลง
พนักงานประวัติ
สอบเปลี่ยนสายงานจากตำแหน่ง จนท.จัดเก็บรายได้ และบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งนิติกรตามคำสั่ง ทน.ขอนแก่น ที่ 12/2548  ลว. 23 ม.ค.48


ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น ลว. 1 ก.พ.2548

          12. ความผิดทางวินัย (พนักงานประวัติบันทึก)
                12.1  วัน เดือน ปี ที่มีคำสั่งลงโทษ (ให้ใช้ ปี พ.ศ.)
                12.2  เรื่อง  ความผิดที่ทำให้ถูกลงโทษ
                12.3  คำสั่ง..(ของหน่วยงานที่ลงโทษ)..ที่………../……….ลงวันที่…………………………….
ตัวอย่างที่ 7
12.ความผิดทางวินัย
วัน เดือน ปี
เรื่อง
โทษ
คำสั่ง
1 ม.ค.2539



ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ภาคทัณฑ์
ทม.ราชบุรี ที่ 12/2539   ลว. 28 ม.ค.2539
ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น ลว. 12 ม.ค.2539


-6-

13. ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน (พนักงานประวัติบันทึก)
                13.1  วัน เดือน ปี ที่อนุมัติดูตามคำสั่ง (ให้ใช้ ปี พ.ศ.)
                13.2  ตำแหน่ง ขื่อตำแหน่ง ดูตามคำสั่ง
                13.3  อัตราเงินเดือน  ระดับ  ขั้น ดูตามคำสั่ง
                13.4  คำสั่ง..(ของหน่วยงานที่สั่ง)..ที่………../……….ลงวันที่…………………………….
                13.5  ต้องลงลายมือชื่อของพนักงานประวัติด้วย
ตัวอย่างที่ 8
13.ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
วัน เดือน ปี
ตำแหน่ง
อัตราเงินเดือน
คำสั่ง
พนักงานประวัติ
ระดับ
ขั้น
10 มี.ค.49




เจ้าหน้าที่ธุรการ             ทน.ขอนแก่น
06-0211-003
1
5,530
บรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาลตามคำสั่ง ทน.ขอนแก่น ที่ 125/2541  ลว. 13 มี.ค.41
ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น    20 มี.ค.41

เมื่อกรอกข้อมูลใน บัตรประวัติเรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานประวัติตรวจทานรายละเอียดให้ ถูกต้อง
ชัดเจนตรงกันทุกฉบับอีกครั้ง  ก่อนจะนำส่ง สำนักงานเลขานุการ ก.จ. ,ก.ท. และ ก.อบต. ต่อไป
ข้อควรระวังในการเขียนบัตรประวัติ     
-ก่อนเริ่มทำงานวันแรก ให้ทำบัตรประวัติก่อนเลยอย่าปล่อยให้เนิ่นนานจะมีปัญหาภายหลัง
-การเขียนต้องบรรจง ชัดเจน สวยงามและอ่านง่าย
                    -วัน เดือนปี  ให้เขียนเต็ม อย่าย่อ และให้ใช้  ปี พ.ศ. เท่านั้น
-วัน /เดือน/ปี เกิด พนักงานประวัติต้องตรวจทานให้ถูกต้องก่อนลงนาม
-ประวัติการศึกษา ต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่ ก..รับรองแล้วเท่านั้น
-บัตรประวัติทั้ง 3 ฉบับ ที่จัดทำขึ้น ถือว่า เป็นต้นฉบับทั้งหมด  ไม่ใช่สำเนา
-รูปถ่ายให้เปลี่ยนใหม่ทุก 7 ปี (ขนาด 2 นิ้ว)
ขั้นตอนการปฏิบัติในการขอเพิ่มเติมข้อมูลในบัตรประวัติ
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมข้อมูลพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนหัวหน้าหน่วยงาน คือ นายกฯ ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัดฯ นายกฯ)
          2. หัวหน้าหน่วยงาน(นายกฯ) อนุมัติให้เพิ่มข้อมูลตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เสนอนายกฯ เพื่อทราบด้วย

การแก้ไขบัตรประวัติ 

มี 2 กรณี คือ 1.การแก้ไขทั่วไป และ 2.การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด

ในการแก้ไขข้อความในบัตรประวัติ  ห้าม ขูด ลบด้วยยางลบหรือป้ายด้วยยาลบหมึก ให้ ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความแล้วเขียนใหม่ด้วยปากกา และต้องลงนามกำกับโดยผู้ที่แก้ไขและหัวหน้าส่วนราชการผู้ลงนามรับรอบในบัตรประวัติ

-7-

ทุกครั้งที่มีการแก้ไข ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร  1007/ว 28 ลงวันที่ 15 กันยายน 2518 เรื่อง ก.พ.7 แบบใหม่และแฟ้มประวัติข้าราชการ
           -   การแก้ไขโดยทั่วไป  ต้องมีเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือได้ มาประกอบคำร้องขอแก้ไข ให้เสนอไปตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา และให้นายก อบจ.,อบต.,เทศบาล อนุมัติ พนักงานประวัติ จึงแก้ไขลงบันทึกในบัตรประวัติได้ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับ ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม
ขั้นตอนการปฏิบัติในการแก้ไข
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนหัวหน้าหน่วยงาน คือ นายกฯ ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัดฯ นายกฯ)
          2. หัวหน้าหน่วยงาน(นายกฯ) อนุมัติตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)แก้ไขโดยขีดฆ่าข้อความและเขียนใหม่ในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เจ้าของบัตรลงนามกำกับและเสนอนายกฯ ลงนามกำกับด้วย
           -   การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด  มีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวเนื่องกับวันเกษียณราชการ การแก้ไข จะขึ้นกับกฎหมายและระเบียบในการเกษียณราชการและเรื่องบำเหน็จบำนาญ จึงยากกว่ากรณีทั่วไป ต้องมีเอกสารอ้างอิงของทางราชการที่เชื่อถือได้ เช่น ใบเกิด ทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่มีรอยขูดลบหรือมีตำหนิมีการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง มาประกอบคำร้องขอแก้ไข เสนอไปตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา และเมื่อได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ คือผู้ว่าราชการจังหวัด (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ4วรรค 2 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 ม. 22 ) แล้ว พนักงานประวัติ จึงแก้ไขลงบันทึกในบัตรประวัติได้ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม
ขั้นตอนการปฏิบัติในการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ
(ผวจ.) ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัด ฯ นายกฯ จนถึง ผวจ.)
          2. เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ(ผวจ.) อนุมัติตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)แก้ไขโดยขีดฆ่าข้อความและเขียนใหม่ในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เจ้าของบัตรลงนามกำกับและเสนอนายกฯ ลงนามกำกับด้วย

แนวทางปฏิบัติกรณีบัตรประวัติข้าราชการ/พนักงาน อปท. ชำรุดสูญหาย

          การดำเนินการบัตรประวัติชำรุดสูญหาย แบ่งเป็น 2 กรณี
1. บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน 
2. บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ     
1.บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน
พนักงานประวัติ (ปลัด อปท.) ตรวจสอบในส่วนที่ชำรุดเสียหายแล้ว  ทำบันทึกรายงานความเสียหายให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ แล้วดำเนินการ ดังนี้
             1.1 พนักงานประวัติ ตรวจสอบหาสำเนาเอกสารหรือภาพถ่ายเอกสารซึ่งอาจมีอยู่กับ  เจ้าของประวัติหรือหน่วยงานที่เคยใช้สำเนาบัตรประวัติในการดำเนินการ เช่น การสมัครสอบเลื่อนระดับ การขอรับเครื่องราชฯ เป็นต้น เมื่อรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมมา ไปยังสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดและ สถ.  เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายต่อไป
-8-

             1.2 เมื่อไม่สามารถค้นหาสำเนา เอกสาร หรือภาพถ่ายบัตรประวัติใดๆ ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ ทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติในส่วนที่ชำรุดจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด เมื่อรวบรวม
หลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมได้ ไปยัง สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายได้
   1.3 เมื่อสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดไม่มีบัตรประวัติที่ชำรุดและไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใดตามข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ขอคัดลอกไปยัง สถ. โดยทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติในส่วนที่ชำรุดจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ที่ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายได้ 
             กรณี บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติการให้บันทึกบัตรประวัติส่วนที่เสียหายขึ้นใหม่แล้ว ให้พนักงานประวัติทำการบันทึกส่วนที่เสียหายลงในบัตรประวัติ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับ ในส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่
  2.  บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ
 พนักงานประวัติ (ปลัด อปท.) ตรวจสอบบัตรประวัติที่สูญหายแล้ว  ทำบันทึกรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ แล้วดำเนินการ ดังนี้
                 2.1 ให้ดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยแสดงถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่เอกสารสูญหาย โดยให้มีรายงานประจำวันรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนเป็นหลักฐานประกอบในการดำเนินการต่อไป
                 2.2 พนักงานประวัติ ตรวจสอบหาสำเนาเอกสารหรือภาพถ่ายเอกสารซึ่งอาจมีอยู่กับเจ้าของประวัติหรือหน่วยงานที่เคยใช้สำเนาบัตรประวัติในการดำเนินการ เช่น การสมัครสอบเลื่อนระดับ การขอเครื่องราชฯ เป็นต้น เมื่อรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมนั้น ไปยัง สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดและ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่ เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่                       
                 2.3 เมื่อไม่สามารถค้นหาสำเนา เอกสาร หรือภาพถ่ายบัตรประวัติใดๆ ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ให้พนักงานประวัติรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่บันทึกขอตรวจสอบข้อมูล ไปยัง สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่
   2.4 เมื่อสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดไม่มีบัตรประวัติที่สูญหายและไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใดตามข้อ 1.1
และ 1.2 แล้ว ให้ขอคัดลอกไปยัง สถ. โดยทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติจากชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ที่ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่
                   กรณี บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติการจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่ ให้พนักงานประวัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่ 3 ชุด (ถือเป็นต้นฉบับ) โดยมีใจความถูกต้องตรงกันทั้ง 3 ชุด ให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับทุกชุด โดย อปท. เก็บรักษาไว้ 1 ชุด  ที่เหลือส่งไปเก็บที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด 1 ชุด และ สถ. 1 ชุด (ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0706/2/4002 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2533 เรื่อง  แนวทางในการจัดทำ ก.พ.7)
หลักการ
1.        หาสำเนาจากสำเนาที่มีอยู่ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
-9-

          2.   หาสำเนาจากชุดที่เก็บไว้ที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด
3.       หาสำเนาจากชุดที่เก็บไว้ที่ สถ.

การจัดทำแฟ้มประวัติส่วนบุคคล
                 เนื่องจากเอกสารทะเบียนประวัติมีความจำเป็นต่ออาชีพข้าราชการดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่เอกสารดังกล่าวเป็นของทางราชการไม่สามารถครอบครองเป็นของตนเองได้  จากประสบการณ์ในการรับราชการของผู้บรรยาย พบว่ามีข้าราชการจำนวนมากที่ประสบปัญหาเมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว มีความจำเป็นต้อง ใช้เอกสารที่เก็บไว้ในแฟ้มทะเบียนประวัติแต่พบว่าเอกสารสูญหาย อาจเป็นด้วยการโยกย้ายหลายครั้ง การรับราชการยาวนานกว่า 20-30 ปี เกิดการชำรุดเสียหาย หรือเกิดไฟไหม้ที่เก็บเอกสาร  และการที่จะค้นหาตามสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดหรือที่กรมฯ อาจได้เอกสารหลักฐานไม่ครบหรือหาไม่เจอ เนื่องจากปริมาณเอกสารมีมากมาย เป็นต้น 
        ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ข้อแนะนำของผู้บรรยายให้ข้าราชการทุกท่านจัดตั้งแฟ้มส่วนบุคคลของตนเองขึ้น ใช้เก็บสำเนาเอกสารทุกอย่างที่มีความสำคัญกับตัวเอง เช่น สำเนาบัตรประวัติ สำเนาหนังสือสั่งบรรจุ สั่งเลื่อนขั้น โยกย้าย สำเนาราชกิจจาฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับกฎอัยการศึกเพื่อนับวันรับราชการทวีคูณ เป็นต้น เมื่อโยกย้ายไปทำงานที่อื่นก็สามารถนำติดตัวไปได้ เพราะเป็นเอกสารส่วนบุคคล เป็นแฟ้มเอกสารส่วนตัวที่ใช้สำรองได้หาเกิดปัญหาดังที่กล่าวมา(โลโก้) อบต

คู่มือการปฏิบัติงานสารบรรณ





องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม


การปฏิบัติงานสารบรรณ

งานสารบรรณ  หมายถึง  งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร  เริ่มตั้งแต่การจัดทำ  การรับ-การส่ง  การเก็บรักษา  การยืม   การทำลาย  ซึ่งเป็นการกำหนดขั้นตอนขอบข่ายของงาน สารบรรณ  ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร  เริ่มตั้งแต่ การคิด อ่าน ร่าง เขียน แต่ง พิมพ์ จดจำ ทำสำเนา ส่งหรือสื่อข้อความ  รับ  บันทึก  จดรายงานการประชุม  สรุป  ย่อเรื่อง  เสนอ สั่งการ  ตอบ                ทำรหัส  เก็บเข้าที่  ค้นหา  ติดตามและทำลาย  ต้องเป็นระบบที่ให้ความสะดวก  รวดเร็วถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากงานสารบรรณเป็นงานที่มีอยู่ทุกหน่วยงาน   การดำเนินงานต้องดำเนินงานด้วยระบบเอกสาร  ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดและการควบคุมงานสารบรรณให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
การปฏิบัติงานสารบรรณ เป็นการปฏิบัติงานเกี่ยวกับหนังสือราชการ  ๖ ชนิด  คือ
๑.      หนังสือภายนอก
๒.      หนังสือภายใน
๓.      หนังสือประทับตรา
๔.      หนังสือสั่งการ
๕.      หนังสือประชาสัมพันธ์
๖.      หนังสือที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น  หรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
จึงนำเสนอแนวทางการปฏิบัติงานสารบรรณ  เฉพาะหัวข้อที่สำคัญและปฏิบัติเป็นประจำ
ดังต่อไปนี้
การรับหนังสือ
การรับหนังสือ  คือ  การรับหนังสือจากส่วนราชการ  หน่วยงานเอกชนและบุคคล
ซึ่งมีมาจากภายนอกและภายใน  หนังสือที่รับไว้แล้วนั้นเรียกว่า  หนังสือรับ  การรับหนังสือมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
          ๑.  จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือ  เพื่อดำเนินการก่อนหลังละตรวจความถูกต้องของเอกสาร หากไม่ถูกต้องให้ติดต่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่ส่งออกหนังสือ เพื่อดำเนินการให้ถูกต้องและบันทึกข้อบกพร่องไว้เป็นหลักฐาน
          ๒.  การประทับตรารับหนังสือที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
               ๒.๑  เลขรับ  ให้ลงเลขที่รับตามลำดับทะเบียนหนังสือรับ
               ๒.๒  วันที่ ให้ลงวันที่  เดือน  ปี  ที่รับหนังสือ
               ๒.๓  เวลา  ให้ลงเวลาที่รับหนังสือ
แบบตรารับหนังสือ
             (ชื่อส่วนราชการ)
            เลขที่รับ...............
            วันที่.....................
            เวลา.....................





          ๓.  ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ  โดยกรอกรายละเอียด  ดังนี้
               ๓.๑  ทะเบียนหนังสือรับ  วัน  เดือน  พ.ศ.  ให้ลง  วัน เดือน ปี ที่ลงทะเบียน
-2-

               ๓.๒  เลขทะเบียนรับ  ให้ลงเลขลำดับของทะเบียนหนังสือรับเรียงลำดับติดต่อกันไปตลอดปีปฏิทินเลขทะเบียนของหนังสือรับจะต้องตรงกับเลขที่ในตรารับหนังสือ
               ๓.๓  ที่  ให้ลงเลขที่ของหนังสือที่รับเข้ามา
               ๓.๔  ลงวันที่  ให้ลงวันที่  เดือน  ปี  ของหนังสือที่รับเข้ามา
               ๓.๕  จาก  ให้ลงตำแหน่งเจ้าของหนังสือหรือชื่อส่วนราชการหรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง
               ๓.๖  ถึง  ให้ลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง  หรือชื่อส่วนราชการหรือชื่อบุคคลในกรณีที่ไม่มีตำแหน่ง
               ๓.๗  เรื่อง  ให้ลงชื่อเรื่องของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่ไม่มีชื่อเรื่องให้ลงสรุปเรื่องย่อ
               ๓.๘  การปฏิบัติ  ให้บันทึกการปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือฉบับนั้น
               ๓.๙  หมายเหตุ  ให้บันทึกข้อความอื่นใด (ถ้ามี)
แบบทะเบียนหนังสือรับ
ทะเบียนหนังสือรับ                                                      วันที่............เดือน.........พ.ศ. .........

เลข
ทะเบียนรับ
ที่
ลงวันที่
จาก
ถึง
เรื่อง
การ
ปฏิบัติ
หมายเหตุ










                  
๔.      จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้ว  ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
โดยให้ลงชื่อหน่วยงานที่รับหนังสือนั้นในช่องการปฏิบัติ  ถ้ามีชื่อบุคคลหรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการรับหนังสือให้ลงชื่อตำแหน่งไว้ด้วย
                   การส่งหนังสือที่ลงทะเบียนไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอน  โดยใช้สมุดส่งหนังสือหรือให้ผู้รับหนังสือลงชื่อละวัน เดือน ปี ที่รับหนังสือไว้เป็นหลักฐานในทะเบียนหนังสือรับ
                   การดำเนินการตามขั้นตอนนี้จะเสนอผ่านผู้บังคับบัญชาผู้ใดหรือไม่  ให้เป็นไปตามที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด
                   ถ้าหนังสือรับนั้นจะต้องดำเนินเรื่องในหน่วยงานนั้นเอง จนถึงขั้นได้ตอบหนังสือไปแล้ว ให้ลงทะเบียนว่าได้ส่งหนังสือออกเลขที่ที่เท่าใด  วัย  เดือน  ปีใด
                   ๕.  การรับหนังสือภายในส่วนราชการเดียวกัน  เมื่อผู้รับได้รับหนังสือจากหน่วยงานสารบรรณกลางแล้ว ให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวข้างต้นโดยอนุโลม
การปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารลับ
                   ๑.  การลงทะเบียนเอกสารลับ
                   ส่วนราชการต้องลงหลักฐานในทะเบียนเอกสารลับ  เพื่อควบคุมการรับ  การดำเนินการ  การส่ง  การเก็บรักษา  และแจกจ่ายเอกสารลับ  ให้เป็นไปโดยถูกต้องและให้หัวหน้าส่วนราชการดังกล่าวแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจและได้ผ่านการตรวจสอบประวัติและพฤติกรรมตามชั้นความลับที่
-3-

จำเป็นต้องปฏิบัติเป็นเจ้าหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบเรียกว่า  นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ และ ผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ  ของส่วนราชการนั้น
                   หากมีความจำเป็นก็ให้แต่งตั้งนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับและผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับของส่วนราชการนั้นในระดับรองลงมาได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าราชการดังกล่าวในวรรคแรก
๒.      เครื่องหมายแสดงชั้นความลับ
การแสดงชั้นความลับของเอกสารที่เป็นความลับ โดยปกติให้ประทับหรือเขียน
ตัวอักษรตามชั้นความลับที่กึ่งกลางหน้ากระดาษทั้งด้านบนและด้านล่างของทุกหน้าเอกสารที่มีชั้นความลับนั้น  ตัวอักษรต้องให้แสดงไว้ที่หน้าแรกในลักษณะเช่นเดียวกัน  ถ้าเอกสารนั้นเย็บเป็นเล่มเข้าปกให้ทำเครื่องหมายดังกล่าว  ที่ด้านนอกของปกหน้าปกหลังด้วย  ถ้าเป็นภาพเขียนแผนที่และแผนภูมิ  ให้ประทับหรือเขียนอักษรแสดงชั้นความลับในลักษณะเดียวกันกับเอกสารที่กล่าวมาแล้ว และแสดงไว้ใกล้ชื่อภาพหรือมาตราส่วนด้วย  โดยให้ชั้นความลับนั้นปรากฏเห็นได้เด่นชัด ถ้าเอกสารนั้นม้วนหรือพับได้ก็ให้แสดงชั้นความลับไว้ให้ปรากฏเห็นได้ขณะที่เอกสารนั้นม้วนหรือพับอยู่ด้วย
๓.      การรับหนังสือลับ
การรับเอกสารชั้นลับที่สุดและลับมากที่จ่าหน้าซองหรือซองชั้นใน  ระบุชื่อบุคคล
ใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ หรือระบุชื่อพร้อมกับระบุตำแหน่ง ให้บุคคลนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้นั้นโดยตรงเป็นผู้เปิดซองและลงชื่อในใบรับเอกสารลับ และนำเอกสารไปลงทะเบียนเอกสารลับหรือนำเสนอผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับเสียก่อน จึงดำเนินการต่อไปได้ถ้าเป็นกรณีเร่งด่วนอาจดำเนินการไปก่อนแล้วให้นำมาลงทะเบียน
                   ถ้าจ่าหน้าซองหรือซองชั้นในระบุถึงตำแหน่งก็ให้ผู้ครองตำแหน่งหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ครองตำแหน่งนั้น  หรือนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ  หรือผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับที่มีสิทธิ์เข้าถึงเอกสารลับที่สุดและลับมาก  เป็นผู้เปิดซองและลงชื่อในใบรับเอกสารลับ  และให้ผู้ดำเนินการลงทะเบียนเช่นเดียวกัน
                   ในกรณีที่ผู้ได้รับมอบหมายหรือนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับเป็นผู้ลงชื่อในใบรับเอกสารลับและลงทะเบียนแล้วให้ปฏิบัติ  ดังนี้
                   (๑)  นำเอกสารลับที่สุดและลับมากนั้นส่งมอบโดยตรงให้แก่บุคคลที่ถูกระบุชื่อโดยเร็วแต่ถ้าเป็นเอกสารที่ระบุตำแหน่งแล้ว  ก็อาจพิจารณามอบให้แก่ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดำเนินการในขั้นต้นแทนบุคคลที่ถูกระบุตำแหน่งนั้นดำเนินการด่วนได้
                   (๒)  ในกรณีที่บุคคลที่เอกสารลับนั้นระบุชื่อหรือตำแหน่ง  ยังไม่สามารถดำเนินการต่อเอกสารได้ในทันที  ให้นำเอกสารลับที่สุดหรือลับมากนั้นมาเก็บไว้ตามระเบียบการเก็บรักษาเอกสารลับที่สุดและลับมาก
                   เอกสารชั้นลับที่จ่าหน้าซองหรือซองชั้นในระบุถึงตำแหน่งให้บุคคลที่ครองตำแหน่งนั้นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับ  หรือผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับเป็นผู้เปิดซองและลงชื่อในใบเอกสารลับ  ถ้าจ่าหน้าซองหรือซองชั้นในระบุถึงบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ  หรือระบุชื่อพร้อมตำแหน่ง  แล้วให้ผู้ถูกระบุชื่อที่หน้าซองหรือผู้ได้รับมอบหมายโดยตรงเท่านั้นเป็นผู้เปิดและลงชื่อใน

-4-

ใบรับเอกสารลับ  สำหรับเอกสารชั้นลับ  ที่ใส่ซองชั้นเดียวให้  เจ้าหน้าที่ผู้เปิดซองเอกสารนั้นให้แก่นายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับหรือผู้ช่วยนายทะเบียนข้อมูลข่าวสารลับทันที
                   ในกรณีที่มีระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ  กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับงานสารบรรณไว้ประการใด  ให้ถือปฏิบัติตามนั้น (โปรดดูรายละเอียดในระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการในภาคผนวกท้ายหนังสือเล่มนี้)
การจ่ายหนังสือ
                   การจ่ายหนังสือภายในส่วนราชการหรือหน่วยงาน  คือ  การจ่ายเรื่องให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง  ได้แก่ หัวหน้าฝ่าย  หัวหน้างาน  และผู้ปฏิบัติ  ได้รับทราบเรื่องราวที่จะต้องดำเนินการและจ่ายเรื่องให้แก่เจ้าหน้าที่  เจ้าของเรื่อง  เพื่อนำไปปฏิบัติ  มีแนวปฏิบัติดังนี้
                   ๑.  เมื่อเจ้าหน้าที่รับ ส่ง นำแฟ้มหนังสือเข้าใหม่จากผู้บังคับบัญชาหรือผู้ได้รับมอบหมายไปมอบให้หัวหน้างานธุรการ  หัวหน้างานสารบรรณ  หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จ่ายเรื่อง  เมื่อพิจารณาบันทึกจ่ายเรื่องแล้วเจ้าหน้าที่รับ-ส่ง นำหนังสือเข้าใหม่เหล่านั้นไปมอบให้แก่หน่วยงานเจ้าของเรื่อง  ซึ่งจะเป็นผู้จ่ายเรื่องให้แก่เจ้าของเรื่องดำเนินการ  โดยให้ลงชื่อรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับไว้เป็นหลักฐาน
                   ๒.  การจ่ายเรื่องต้องจ่ายทันที  ให้ทันกำหนดเวลา
                   ๓.  ผู้มีหน้าที่จ่ายเรื่อง  เมื่อพิจารณาหนังสือก่อนจ่ายแล้วเห็นว่าเรื่องใดมีความสำคัญ  ควรบันทึกช่วยจำเพื่อสามารถติดตามเรื่องได้ทันเวลา    
ขั้นตอนการเดินหนังสือราชการ
ขั้นตอนการเดินหนังสือราชการโดยปกติจะสามารถแบ่งออกได้เป็น  ๒  ลักษณะ
                   ลักษณะที่ ๑ ขั้นตอนการเดินหนังสือในกระบวนการรับเข้า  โดยเริ่มจากการรับเข้าของเจ้าหน้าที่ รับ ส่ง  และมีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร  ทำให้เกิดขั้นตอนการเดินหนังสือตามลำดับ  จนถึงเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องเป็นผู้ปฏิบัติ  เช่นนี้เรียกว่า  ขั้นตอนของหนังสือเข้าตามแผนภูมิ  ที่ ๑
                   ลักษณะที่ ๒  ขั้นตอนการเดินหนังสือในกระบวนการส่งออก  โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องรับเรื่องจากผู้จ่ายหนังสือมาดำเนินการหรืออาจเริ่มจากการเป็นเจ้าของเรื่องผู้ปฏิบัติเป็นเริ่มแรก  (ต้นเรื่อง) ก็ได้ในการดำเนินการเป็นขั้นตอนตามลำดับจนถึงการส่งออกดูจากแผนภูมิที่ ๒
                   กระบวนการเดินทางหนังสือราชการที่ปฏิบัติอยู่ในระหว่างปี  หนังสือจะต้องอยู่ในแฟ้มเก็บระหว่างปีจนถึงสิ้นปี  มีการเก็บ  และการทำลายเป็นขั้นตอนสุดท้าย  จัดเป็นขั้นตอนการการเดินทางหนังสือราชการครบกระบวนการตามแผนภูมิที่ ๓
กระบวนการของหนังสือเข้ามีแนวทางปฏิบัติดังนี้
๑.      เจ้าหน้าที่รับ ส่งหนังสือ รับหนังสือแล้วแยกหนังสือตามความสำคัญของหนังสือ
และเปิดผนึกซองตามที่ได้รับมอบหมาย
                   ๒.  ประทับตรารับและตรารหัสหนังสือ  ลงทะเบียนหนังสือรับ  กรอกรายการในตรารับแล้วจัดแยกหนังสือเข้าแฟ้มเสนอหนังสือเข้าใหม่
                   ๓.  เสนอหนังสือเข้าใหม่ให้ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  เพื่อรับทราบเบื้องต้นและหรือสั่งการหากมีเรื่องสำคัญ  ผู้บริหารควรบันทึกย่อเรื่องไว้ในสมุดบันทึกกันลืม
-5-

                   ๔.  เจ้าหน้าที่รับ ส่ง นำแฟ้มเสนอหนังสือเข้าใหม่ที่ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับทราบและหรือสั่งการแล้ว มอบให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  โดยให้ลงชื่อรับหนังสือไว้เป็นหลักฐานด้วย
                   ๕.  เมื่อหัวหน้าฝ่าย / งานรับหนังสือแล้วให้ดำเนินการดังนี้
                       ๕.๑  พิจารณาหนังสือต่าง ๆ ลงรายการในตรารหัสหนังสือและบันทึกในทะเบียนคุมเครื่อง
                       ๕.๒  แจกหนังสือแก่เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่อง  โดยให้ลงชื่อรับไว้เป็นหลักฐานด้วย
                        ๕.๓  เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องนำหนังสือไปปฏิบัติ

แผนภูมิที่ ๑

กระบวนการของหนังสือเข้า
กระบวนการของหนังสือออก  มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
                   ๑.  เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องรับเรื่องไว้ปฏิบัติแล้ว  บันทึกเสนอผ่านหัวหน้าฝ่าย / งาน  ถ้าสมควรทำหนังสือ โต้ตอบเสนอด้วยก็ควรพิมพ์แนบไปพร้อมกันหรืออาจเสนอตรวจร่างก่อนก็ได้
                   ๒.  เจ้าหน้าที่รับ ส่ง รับเรื่องเสนอผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
                   ๓.  ผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาสั่งการ  ตรวจร่าง  และหรือลงนาม
                   ๔.  เจ้าหน้าที่รับ ส่ง นำเรื่องคืนฝ่าย/งาน หรือเจ้าของเรื่องดำเนินการ  ถ้าเป็นเรื่องที่ลงนามแล้ว ให้ลงทะเบียนหนังสือส่งและลงวันที่  เลขที่หนังสือส่งออกเพื่อจัดส่งไป  ส่วนสำเนาคู่ฉบับและต้นเรื่องส่งคืนเจ้าของเรื่องผู้ปฏิบัติแต่ถ้ายังไม่สามารถส่งออกได้ทันทีควรเก็บไว้ในแฟ้มรอส่งก่อน
                   ๕.  หนังสือฉบับใดยังปฏิบัติไม่เสร็จสิ้น  ต้องรอการโต้ตอบอีก เจ้าหน้าที่ของเรื่องควรเก็บไว้ในแฟ้มรอตอบ ซึ่งอาจจะต้องทำเรื่องนั้นส่งออกไปอีก

แผนภูมิที่ ๒

กระบวนการของหนังสือออก
                   นอกจากกระบวนการของหนังสือเข้าและกระบวนการของหนังสือออกดังได้กล่าวมาแล้วในการปฏิบัติงานสารบรรณมีกระบวนการไปสู่การเก็บระหว่างปีและตอนสิ้นปีจนถึงการทำลายหนังสือฉะนั้นกระบวนการของหนังสือเข้าและหนังสือออกที่กล่าวมาแล้ว  ยังมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไปอีกดังนี้
                   ๑.  ในระหว่างปีเรื่องใดอยู่ในระหว่างปฏิบัติหรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับระเบียบหรือเรื่องที่ใช้ตรวจสอบจะต้องจัดเก็บไว้ในแฟ้มเก็บหนังสือระหว่างปีตามหมวดหนังสือนั้นๆ ถ้าเรื่องใดปฏิบัติเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องดำเนินการจัดเก็บหนังสือที่เสร็จแล้วในระหว่างปีในแฟ้มเก็บระหว่างปี เพื่อรอเก็บตอนสิ้นปี
                   ๒.  เมื่อสิ้นปีเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องมอบหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้วจากแฟ้มเก็บระหว่างปีพร้อมบัญชีหนังสือส่งเก็บให้แก่เจ้าหน้าที่เก็บหนังสือประจำสำนักงาน เพื่อดำเนินการจัดทำทะเบียนหนังสือเก็บและจัดเก็บหนังสือให้ชอบด้วยระเบียบ
                   ๓.  ส่วนราชการที่ขอทำลายหนังสือดำเนินการจัดทำลายหนังสือตามระเบียบว่าด้วยสารบรรณ
-6-

แผนภูมิที่  ๓

ขั้นตอนการเดินทางหนังสือครบกระบวนการ
การทำสำเนาหนังสือ
                   สำเนา  คือ   เอกสารที่จัดทำขึ้นเหมือนกับต้นฉบับ  โดยจัดทำจากต้นฉบับ  สำเนาคู่ฉบับหรือจากสำเนาอีกชั้นหนึ่ง
                   ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้เอกสารราชการนั้นๆ เพิ่มขึ้น และเอกสารเหล่านั้นไม่ได้จัดทำไว้หลายฉบับ จำเป็นต้องจัดทำสำเนาขึ้น  เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบการพิจารณาของทางราชการ การทำสำเนาอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
                    ๑.  ถอดหรือจัดทำพร้อมต้นฉบับ  โดยใช้กระดาษคาร์บอนสอดระหว่างต้นฉบับกับกระดาษที่ทำสำเนา เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว ต้นฉบับกับสำเนาจะเหมือนกันทุกประการ ซึ่งเรียกว่า สำเนาคู่ฉบับ  สำเนาชนิดนี้จะต้องมีลายมือชื่อ หรือลายมือชื่อย่อของผู้ลงชื่อ และให้ผู้ร่าง  ผู้พิมพ์  และผู้ตรวจ  ลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือด้วย
                   ๒.  คัดหรือลอกจากต้นฉบับ คำต่อคำ ให้ถูกต้องกับต้นฉบับเดิม  และต้องตรวจทานให้ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างแท้จริง  สำเนาชนิดนี้อาจผิดพลาดไปจากต้นฉบับได้  ผู้จัดทำต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนและเพื่อแสดงให้ทราบว่าได้มีการตรวจสอบละเอียดแล้ว จึงต้องมีผู้รับรองสำเนาว่า สำเนาถูกต้อง
                   ๓.  ใช้วิธีถ่ายจากต้นฉบับ เช่น ถ่ายด้วยเครื่องถ่ายเอกสาร  ซึ่งจะไม่ผิดพลาดไปจากต้นฉบับและต้องมีการรับรองสำเนาว่า  สำเนาถูกต้อง   เช่นกัน  เพราะเป็นสำเนาที่ถ่ายจากต้นฉบับอีกครั้งหนึ่ง
                   ๔.  สำเนาหนังสือที่พิมพ์จากคอมพิวเตอร์  ซึ่งต้นฉบับกับสำเนาจะเหมือนกันทุกประการซึ่งเรียกว่า สำเนาคู่ฉบับ  สำเนาชนิดนี้จะต้องมีลายมือชื่อ  หรือลายมือชื่อย่อของผู้ลงชื่อและผู้ร่าง  ผู้พิมพ์และผู้ตรวจ  ลงลายมือชื่อหรือลายชื่อย่อไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือด้วย
                   การรับรองสำเนา  ให้มีคำรับรองว่า  สำเนาถูกต้อง  และให้เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ  ๒  หรือเทียบเท่าขึ้นไป  ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องทำสำเนานั้นขึ้น  เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรอง  พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อตัวบรรจงตำแหน่ง  และวัน  เดือน  ปี  ที่รับรอง  และโดยปกติให้มีคำว่า  สำเนา”   ไว้ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษเหนือบรรทัดแรกของสำเนาหนังสือด้วย
หมวด  ๑
ชนิดของหนังสือ
                   ข้อ  ๙  หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ  ได้แก่
                             ๙.๑  หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
                             ๙.๒  หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใด  ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ  หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
                             ๙.๓  หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
                             ๙.๔  เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
                             ๙.๕  เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย  ระเบียบ  หรือข้อบังคับ
-7-

                   ข้อ  ๑๐  หนังสือมี  ๖  ชนิด  คือ 
                             ๑๐.๑  หนังสือภายนอก
                             ๑๐.๒  หนังสือภายใน
                             ๑๐.๓  หนังสือตราประทับ
                             ๑๐.๔  หนังสือสั่งการ
                             ๑๐.๕  หนังสือประชาสัมพันธ์
                             ๑๐.๖  หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

ส่วนที่  ๑
หนังสือภายนอก
                   ข้อ ๑๑  หนังสือภายนอก  คือ  หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ  หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ  หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก  ให้จัดทำตามแบบที่ ๑ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๑.๑  ที่   ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเครื่อง  ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก  ๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง  สำหรับหนังสือของคณะกรรมการการให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น
                             ๑๑.๒  ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ  ให้ลงชื่อส่วนราชการ  สถานที่ราชการ  หรือ  คณะกรรมการการซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น  และโดยปกติให้ลงที่ตั้งไว้ด้วย
                             ๑๑.๓  วัน  เดือน  ปี   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
                             ๑๑.๔  เรื่อง  ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องโดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
                             ๑๑.๕  คำขึ้นต้น  ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้น  สรรพนามและคำลงท้าย  ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒ แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง  หรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
                             ๑๑.๖  อ้างถึง  (ถ้ามี)  ให้อ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันเฉพาะหนังสือที่ส่วนราชการ  ผู้รับหนังสือได้รับมาก่อนแล้วจะจากส่วนราชการใดก็ตามโดยให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือและเลขที่หนังสือ  วันที่  เดือน  ปีพุทธศักราชของหนังสือนั้น
                                      การอ้างถึง  ให้อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายที่ติดต่อกันเพียงฉบับเดียว  เว้นแต่มีเรื่องอื่นที่เป็นสาระสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงอ้างถึงหนังสือฉบับอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นโดยเฉพาะให้ทราบด้วย
                             ๑๑.๗  สิ่งที่ส่งมาด้วย (ถ้ามี)ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสารหรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้นในกรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
                             ๑๑.๘  ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย  หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ

-8-

                             ๑๑.๙  คำลงท้าย   ให้ใช้คำลงท้ายตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้น  สรรพนาม  และคำลงท้าย  ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๒
                             ๑๑.๑๐  ลงชื่อ  ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ  และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ  ตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๓
                             ๑๑.๑๑  ตำแหน่ง   ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ
                             ๑๑.๑๒  ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ  ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับหระทรวงหรือทบวง  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  ทั้งระดับกรมและกอง  ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมลงมา  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
                             ๑๑.๑๓   โทร.   ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือและหมายเลขภายในตู้สาขา  (ถ้ามี)  ไว้ด้วย
๑๑.๑๔   สำเนาส่ง  (ถ้ามี)   ในกรณีที่ผู้ส่งจัดทำสำเนาส่งไปให้ส่วนราชการ
หรือบุคคลอื่นทราบ  และประสงค์จะให้ผู้รับทราบว่าได้มีสำเนาส่งไปให้ผู้ใดแล้ว  ให้พิมพ์ชื่อเต็มหรือชื่อย่อของส่วนราชการหรือชื่อบุคคลที่ส่งสำเนาไปให้  เพื่อให้เป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ส่งและผู้รับ  ถ้าหากมีรายชื่อที่ส่งมากให้พิมพ์ว่า  ส่งไปตามรายชื่อแนบและแนบรายชื่อไปด้วย
ส่วนที่  ๒
หนังสือภายใน

                   ข้อ  ๑๒  หนังสือภายใน  คือ  หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกเป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง  ทบวง  กรมหรือจังหวัดเดียวกัน  ใช้กระดาษบันทึกข้อความ  และให้จัดทำตามแนบที่ ๒ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๒.๑   ส่วนราชการ   ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ  โดยมีรายละเอียดพอสมควร  โดยปกติถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง  ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมา  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง  หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องพร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์  (ถ้ามี)
                             ๑๒.๒  ที่   ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่อง  ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง  สำหรับหนังสือของคณะกรรมการให้กำหนดรหัสพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น
๑๒.๓   วันที่   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปี 
พุทธศักราช  ที่ออกหนังสือ 
                             ๑๒.๔   เรื่อง   ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น  ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่อง  โดยปกติให้ลงเรื่องของหนังสือฉบับเดิม
                             ๑๒.๕   คำขึ้นต้น  ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามตารางการใช้คำขึ้นต้น  สรรพนาม  และคำลงท้าย  ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก  ๒  แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือ ชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่
-9-

                             ๑๒.๖   ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย  หากมีความประสงค์หลายประการให้แยกเป็นข้อ ๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วยให้ระบุไว้ในข้อนี้
                             ๑๒.๗   ลงชื่อและตำแหน่ง  ให้ปฏิบัติตามข้อ ๑๑.๑๐ และข้อ ๑๑.๑๑ โดยอนุโลมในกรณีที่กระทรวง  ทบวง  กรม  หรือจังหวัดใด  ประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะเพื่อใช้ตามความเหมาะสมก็ให้กระทำได้
ส่วนที่  ๓
หนังสือประทับตรา
                   ข้อ ๑๓  หนังสือประทับตรา  คือ  หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป  โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกองหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา
                   หนังสือประทับตราให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ  และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก  เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ  ได้แก่
                             ๑๓.๑   การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
                             ๑๓.๒  การส่งสำเนาหนังสือ  สิ่งของ  เอกสาร  หรือบรรณสาร
                             ๑๓.๓  การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญหรือการเงิน
                             ๑๓.๔  การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
                             ๑๓.๕  การเตือนเรื่องที่ค้าง
                             ๑๓.๖  เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง  ให้ใช้หนังสือประทับตรา
                   ข้อ ๑๔  หนังสือประทับตรา  ใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่ ๓ ท้ายระเบียบโดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๔.๑   ที่  ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเจ้าของเรื่องตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๑ ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง
                             ๑๔.๒   ถึง  ให้ลงชื่อส่วนราชการ  หน่วยงาน  หรือบุคคลที่หนังสือนั้นมีถึง
                             ๑๔.๓  ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
                             ๑๔.๔  ชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก  ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ส่งหนังสือออก
                             ๑๔.๕   ตราชื่อส่วนราชการ  ให้ประทับตราชื่อส่วนราชการตามข้อ  ๗๒  ด้วยหมึกแดง  และให้ผู้รับผิดชอบลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา
                             ๑๔.๖   วัน  เดือน  ปี   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ
                             ๑๔.๗   ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องหรือหน่วยงานที่ออกหนังสือ
                             ๑๔.๘   โทร.หรือที่ตั้ง   ให้ลงหมายเลขโทรศัพท์ของส่วนราชการเจ้าของเรื่องและหมายเลขภายในตู้สาขา  (ถ้ามี)  ด้วย ในกรณีที่ไม่มีโทรศัพท์  ให้ลงที่ตั้งของส่วนราชการเจ้าของเรื่องโดยให้ลงตำบลที่อยู่ตามความจำเป็น และแขวงไปรษณีย์  (ถ้ามี)
-10-

ส่วนที่ ๔
หนังสือสั่งการ

                   ข้อ  ๑๕  หนังสือสั่งการ  ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้  เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดแบบไว้โดยเฉพาะ
                   หนังสือสั่งการมี  ๓  ชนิด  ได้แก่  คำสั่ง  ระเบียบ  และข้อบังคับ
                   ข้อ ๑๖  คำสั่ง   คือ  บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่ ๔ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๖.๑  คำสั่ง  ให้ลงชื่อส่วนราชการหรือตำแหน่งของผู้มีอำนาจที่ออกคำสั่ง
                             ๑๖.๒   ที่   ให้ลงเลขที่ที่ออกคำสั่ง  โดยเริ่มฉบับแรกจากเลข  ๑  เรียงเป็นลำดับไปจนสิ้นปีปฏิทิน  ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกคำสั่ง
                             ๑๖.๓   เรื่อง   ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกคำสั่ง
                             ๑๖.๔   ข้อความ   ให้อ้างเหตุที่ออกคำสั่ง   และอ้างถึงอำนาจที่ให้ออกคำสั่ง  (ถ้ามี)  ไว้ด้วย  แล้วจึงลงข้อความที่สั่ง  และวันใช้บังคับ
                             ๑๖.๕   สั่ง  ณ  วันที่  ให้ลงตัวเลขของวันที่   ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธสักราชที่ออกคำสั่ง
                             ๑๖.๖   ลงชื่อ  ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกคำสั่ง  และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
                             ๑๖.๗   ตำแหน่ง   ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกคำสั่ง
                   ข้อ  ๑๗  ระเบียบ  คือ   บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่วางไว้  โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้  เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ  ใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่  ๕  ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๗.๑   ระเบียบ   ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกระเบียบ
                             ๑๗.๒   ว่าด้วย   ให้ลงชื่อของระเบียบ
                             ๑๗.๓   ฉบับที่   ถ้าเป็นระเบียบที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น  ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด แต่ถ้าเป็นระเบียบเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม  ให้ลงเป็น  ฉบับที่ ๒  และถัด ๆ ไป ตามลำดับ
                             ๑๗.๔  พ.ศ.   ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
                             ๑๗.๕   ข้อความ   ให้อ้างเหตุผลโดยย่อ  เพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกระเบียบ  และอ้างถึงกฎหมายที่ให้อำนาจออกระเบียบ (ถ้ามี)
                             ๑๗.๖   ข้อ   ให้เรียงข้อความที่จะใช้เป็นระเบียบเป็นข้อ ๆ โดยให้ข้อ ๑ เป็นชื่อระเบียบ ข้อ ๒ เป็นวันใช้บังคับกำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด และข้อสุดท้าย เป็นข้อผู้รักษาการระเบียบใดถ้ามีมากข้อหรือหลายเรื่องจะแบ่งเป็นหมวดก็ได้  โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด ๑
                             ๑๗.๗   ประกาศ  ณ  วันที่   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกระเบียบ
-11-

                             ๑๗.๘   ลงชื่อ   ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกระเบียบ  และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ 
                             ๑๗.๙   ตำแหน่ง    ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกระเบียบ
                   ข้อ  ๑๘  ข้อบังคับ    คือ   บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้   โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้  ใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่  ๖  ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๑๘.๑   ข้อบังคับ   ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข้อบังคับ
                             ๑๘.๒   ว่าด้วย   ให้ลงชื่อของข้อบังคับ
                             ๑๘.๓   ฉบับที่   ถ้าเป็นข้อบังคับที่กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในเรื่องนั้น  ไม่ต้องลงว่าเป็นฉบับที่เท่าใด  แต่ถ้าเป็นข้อบังคับเรื่องเดียวกันที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลงเป็นฉบับที่ ๒ และที่ถัด ๆ ไป ตามลำดับ
                             ๑๘.๔   พ.ศ.   ให้ลงตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ
                             ๑๘.๕   ข้อความ   ให้อ้างเหตุผลโดยย่อเพื่อแสดงถึงความมุ่งหมายที่ต้องออกข้อบังคับ  และอ้างถึงกฎหมายที่ให้อำนาจออกข้อบังคับ
                             ๑๘.๖   ข้อ   ให้เรียงข้อความที่จะใช้บังคับเป็นข้อ ๆ โดยให้ข้อ ๑ เป็นชื่อข้อบังคับข้อ ๒ เป็นวันใช้บังคับกำหนดว่าให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใด  และข้อสุดท้ายเป็นข้อผู้รักษาการ  ข้อบังคับใดถ้ามีมากข้อหรือหลายเรื่องจะแบ่งเป็นหมวดก็ได้  โดยให้ย้ายข้อผู้รักษาการไปเป็นข้อสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นหมวด ๑
                             ๑๘.๗   ประกาศ  ณ  วันที่   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือนและตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข้อบังคับ
                             ๑๘.๘   ลงชื่อ   ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกข้อบังคับ  และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ  ไว้ใต้ลายมือชื่อ
                             ๑๘.๙   ตำแหน่ง   ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกข้อบังคับ
ส่วนที่ ๕
หนังสือประชาสัมพันธ์
                   ข้อ ๑๙   หนังสือประชาสัมพันธ์  ให้ใช้ตามแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ
                   หนังสือประชาสัมพันธ์มี ๓ ชนิด ประกาศ  แถลงการณ์  และข่าว
                   ข้อ ๒๐  ประกาศ   คือ  บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบหรือแนะแนวทางปฏิบัติ  ใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่ ๗ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียด ดังนี้
                             ๒๐.๑   ประกาศ  ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ
                             ๒๐.๒   เรื่อง   ให้ลงชื่อเรื่องที่ประกาศ
                             ๒๐.๓   ข้อความ   ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกประกาศ และข้อความที่ประกาศ
                             ๒๐.๔   ประกาศ  ณ  วันที่    ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกประกาศ
-12-

                             ๒๐.๕   ลงชื่อ   ให้ลงลายมือชื่อผู้ออกประกาศ  และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
                             ๒๐.๖   ตำแหน่ง  ให้ลงตำแหน่งของผู้ออกประกาศ
                   ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำเป็นแจ้งความ  ให้เปลี่ยนคำว่าประกาศ เป็นแจ้งความ
                   ข้อ ๒๑  แถลงการณ์  คือ  บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลง  เพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใดๆ  ให้ทราบชัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ  และให้จัดทำตามแบบที่ ๘ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๒๑.๑   แถลงการณ์   ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
                             ๒๑.๒   เรื่อง   ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกแถลงการณ์
                             ๒๑.๓   ฉบับที่  ใช้ในกรณีที่จะต้องออกแถลงการณ์หลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกัน ให้ลงฉบับที่เรียงตามลำดับไว้ด้วย
                             ๒๑.๔   ข้อความ  ให้อ้างเหตุผลที่ต้องออกแถลงการณ์และข้อความที่แถลงการณ์
                             ๒๑.๕   ส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์   ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกแถลงการณ์
                             ๒๑.๖   วัน  เดือน  ปี   ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกแถลงการณ์
                   ข้อ  ๒๒  ข่าว   คือ  บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ  ให้จัดทำตามแบบที่ ๙ ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้
                             ๒๒.๑   ข่าว  ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
                             ๒๒.๒   เรื่อง   ให้ลงชื่อเรื่องที่ออกข่าว
                             ๒๒.๓   ฉบับที่   ใช้ในกรณีที่จะต้องออกข่าวหลายฉบับในเรื่องเดียวที่ต่อเนื่องกันให้ลงฉบับที่ เรียงตามลำดับไว้ด้วย
                             ๒๒.๔   ข้อความ   ให้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของข่าว
                             ๒๒.๕   ส่วนราชการที่ออกข่าว    ให้ลงชื่อส่วนราชการที่ออกข่าว
                             ๒๒.๖   วัน  เดือน  ปี   ให้ลงตัวเลขของวันที่   ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกข่าว
ส่วนที่  ๖
หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
                   ข้อ  ๒๓  หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ  คือหนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการ มี ๔ ชนิดคือ  หนังสือรับรองรายงานการประชุม 
                   ข้อ ๒๔   หนังสือรับรอง   คือ  หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่บุคคล  นิติบุคคลหรือหน่วยงาน  เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง  ใช้กระดาษตราครุฑ และให้จัดทำตามแบบที่  ๑๐  ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียดดังนี้


-13-

                   ๒๔.๑   เลขที่   ให้ลงเลขที่ของหนังสือรับรองโดยเฉพาะ  เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน  ทับเลขปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง  หรือลงเลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใด
                             ๒๔.๒   ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ   ให้ลงชื่อของส่วนราชการ  ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือนั้น  และจะลงสถานที่ตั้งของส่วนราชการเจ้าของหนังสือด้วยก็ได้
                             ๒๔.๓   ข้อความ   ให้ลงข้อความขึ้นต้นว่า  หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่าแล้วต่อด้วยชื่อบุคคล  นิติบุคคล  หรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรอง  ในกรณีเป็นบุคคลให้พิมพ์ชื่อเต็ม  โดยมีคำนำหน้านาม  ชื่อ  นามสกุล   ตำแหน่งหน้าที่   และสังกัดหน่วยงานที่ผู้นั้นทำงานอยู่อย่างชัดเจน  แล้วจึงลงข้อความที่รับรอง 
                             ๒๔.๔   ให้ไว้   ณ  วันที่    ให้ลงตัวเลขของวันที่  ชื่อเต็มของเดือน  และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือรับรอง
                             ๒๔.๕   ลงชื่อ    ให้ลงลายมือชื่อหัวหน้าส่วนราชการผู้ออกหนังสือหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  และพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ
                             ๒๔.๖   ตำแหน่ง    ให้ลงตำแหน่งของผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือ
                             ๒๔.๗   รูปถ่ายและลายมือชื่อผู้ได้รับการรับรอง   ในกรณีที่การรับรองเป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคลให้ติดรูปถ่ายของผู้ที่ได้รับการรับรอง  ขนาด  ๔ x ๖  เซนติเมตร  หน้าตรง  ไม่สวมหมวก  ประทับตราชื่อส่วนราชการที่ออกหนังสือบนขอบล่างด้านขวาของรูปถ่ายคาบต่อลงบนแผ่นกระดาษและให้  ผู้นั้นลงลายมือชื่อไว้ใต้รูปถ่ายพร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อด้วย

                   ข้อ  ๒๕  รายงานการประชุม   คือ   การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม   ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน  ให้จัดทำตามแบบที่  ๑๑  ท้ายระเบียบ  โดยกรอกรายละเอียด  ดังนี้
                             ๒๕.๑   รายงานการประชุม   ให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น
                             ๒๕.๒   ครั้งที่ ให้ลงครั้งที่ประชุม 
                             ๒๕.๓    เมื่อ  ให้ลงวันเดือนปีที่ประชุม
                             ๒๕.๔    ณ   ให้ลงสถานที่ที่ประชุม
                             ๒๕.๕    ผู้มาประชุม  ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุม ในกรณีที่มีผู้มาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทน  และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด
                             ๒๕.๖   ผู้ไม่มาประชุม  ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมิได้มาประชุมพร้อมทั้งเหตุผล  (ถ้ามี)
                             ๒๕.๗   ผู้เข้าร่วมประชุม   ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งได้เข้าร่วมประชุม  (ถ้ามี)
                             ๒๕.๘  เริ่มประชุมเวลา  ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม
                             ๒๕.๙   ข้อความ  ให้บันทึกข้อความที่ประชุม  โดยปกติให้เริ่มต้นด้วยประธานกล่าวเปิดประชุม  และเรื่องที่ประชุม  กับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่องตามลำดับ
-14-

                             ๒๕.๑๐  เลิกประชุมเวลา  ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม
                             ๒๕.๑๑  ผู้จดรายงานการประชุม   ให้ลงชื่อผู้จดรายงานการประชุมครั้งนั้น
                   ข้อ ๒๖  บันทึก   คือ  ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา  หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานระดับต่ำกว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ  โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ  และให้มีหัวข้อดังต่อไปนี้
                             ๒๖.๑   ชื่อหรือตำแหน่งที่บันทึกถึง   โดยใช้คำขึ้นต้นตามที่กำหนดไว้  ในภาคผนวก ๒
                             ๒๖.๒   สาระสำคัญของเรื่อง  ให้ลงใจความของเรื่องที่บันทึกถ้ามีเอกสารประกอบก็ให้ระบุไว้ด้วย
                             ๒๖.๓   ชื่อและตำแหน่ง   ให้ลงลายมือชื่อและตำแหน่งของผู้บันทึก  และในกรณีที่ไม่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ  ให้ลงวัน  เดือน  ปี  ที่บันทึกไว้ด้วย
                   การบันทึกต่อเนื่อง  โดยปกติให้บันทึกระบุคำขึ้นต้น  ใจความบันทึก  และลงชื่อเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น  และให้ลงวัน เดือน ปี กำกับใต้ลายมือชื่อผู้บันทึก  หากไม่มีความเห็นใดเพิ่มเติมให้ลงชื่อและ วัน เดือน ปี กำกับเท่านั้น
                   ข้อ  ๒๗  หนังสืออื่น  คือ  หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ  ซึ่งรวมถึง  ภาพถ่าย  ฟิล์ม  แถบบันทึกเสียง  แถบบันทึกภาพด้วย  หรือ หนังสือของบุคคลภายนอกที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้วมีรูปแบบตามที่กระทรวง  ทบวง  กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสม   เว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบเช่น  โฉนด  แผนที่  แบบ  แผนผัง  สัญญา  หลักฐานการสืบสวนและสอบสวนและคำร้อง  เป็นต้น 
ส่วนที่  ๗
บทเบ็ดเตล็ด
                   ข้อ  ๒๘  หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ  เป็นหนังสือที่ต้องจัดส่งและดำเนินการทางสารบรรณด้วยความรวดเร็วเป็นพิเศษ  แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ
                             ๒๘.๑   ด่วนที่สุด  ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น
                             ๒๘.๒   ด่วนมาก   ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว
                             ๒๘.๓   ด่วน   ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ  เท่าที่จะทำได้
                   ให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่าตัวพิมพ์โป้ง  ๓๒ พอยท์  ให้เห็นได้ชัดบนหนังสือและบนซอง ตามที่กำหนดไว้ในแบบที่ ๑ แบบที่ ๒ แบบที่ ๓ และแบบที่ ๑๕ ท้ายระเบียบ  โดยให้ระบุคำว่า  ด่วนที่สุด  ด่วนมาก  หรือด่วน  สำหรับหนังสือตามข้อ ๒๘.๑  ข้อ ๒๘.๒  และข้อ ๒๘.๓ แล้วแต่กรณี
                   ในกรณีที่ต้องการให้หนังสือส่งถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด  ให้ระบุคำว่า  ด่วนภายใน  แล้วลง วัน เดือน ปี และกำหนดเวลาที่ต้องการให้หนังสือนั้นไปถึงผู้รับ  กับเจ้าหน้าที่ส่งถึงผู้รับ  ซึ่งระบุบนหน้าซองภายในเวลาที่กำหนด


-15-

                   ข้อ  ๒๙   เรื่องราชการที่จะดำเนินการหรือสั่งการด้วยหนังสือได้ไม่ทัน  ให้ส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสาร  เช่น  โทรเลข  วิทยุโทรเลข   โทรพิมพ์  โทรศัพท์  วิทยุสื่อสาร  วิทยุกระจายเสียง  หรือวิทยุโทรทัศน์  เป็นต้น  และให้ผู้รับปฏิบัติเช่นเดียวกับได้รับหนังสือในกรณีที่จำเป็นต้องยืนยันเป็นหนังสือ  ให้ทำหนังสือยืนยันตามไปทันที
                   การส่งข้อความทางเครื่องมือสื่อสารซึ่งไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง  เช่น ทางโทรศัพท์  วิทยุสื่อสาร  วิทยุกระจายเสียง  หรือ  วิทยุโทรทัศน์  เป็นต้น  ให้ส่งและผู้รับบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน
                   ข้อ  ๓๐   หนังสือที่จัดทำขึ้นโดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง  ๑  ฉบับ  และให้มีสำเนาเก็บไว้ที่หน่วยงานสารบรรณกลาง  ๑  ฉบับ
                   สำเนาคู่ฉบับให้ผู้ลงชื่อลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อ  และให้ผู้ร่าง  ผู้พิมพ์  และผู้ตรวจลงลายมือชื่อหรือลายมือชื่อย่อไว้ที่ข้างท้ายขอบล่างด้านขวาของหนังสือ
                   ข้อ  ๓๑   หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่า  มีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วยโดยปกติให้ส่งสำเนาไปให้ทราบโดยทำเป็นหนังสือประทับตรา
                   สำเนาหนังสือนี้ให้มีคำรับรองว่า  สำเนาถูกต้อง  โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งแต่ระดับ ๒ หรือเทียบเท่าขึ้นไป ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องลงลายมือชื่อรับรอง  พร้อมทั้งลงชื่อตัวบรรจงและตำแหน่งที่ขอบล่างของหนังสือ
                   ข้อ ๓๒  หนังสือเวียน   คือ  หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก  มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ  ว   หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง  ซึ่งกำหนดเป็นเลขที่หนังสือเวียนโดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่เลข ๑ เรียงเป็นลำดับไปจนถึงสิ้นปีปฏิทิน  หรือใช้เลขที่ของหนังสือทั่วไปตามแบบหนังสือภายนอกอย่างหนึ่งอย่างใด
                   เมื่อผู้รับได้รับหนังสือเวียนแล้วเห็นว่าเรื่องนั้น  จะต้องให้หน่วยงานหรือบุคคลในบังคับบัญชาในระดับต่าง ๆ ได้รับทราบด้วย  ก็ให้มีหน้าที่จัดทำสำเนาหรือจัดส่งให้หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นโดยเร็ว
                   ข้อ  ๓๓  สรรพนามที่ใช้ในหนังสือ   ให้ใช้ตามฐานะแห่งความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของหนังสือและผู้รับหนังสือ  ตามภาคผนวก ๒              
                   ข้อ  ๓๔  หนังสือภาษาต่างประเทศ  ให้ใช้กระดาษตราครุฑ
หนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ในภาคผนวก ๔ สำหรับหนังสือที่เป็นภาษาอื่นๆ ซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ  ให้เป็นไปตามประเพณีนิยม









แบบหนังสือภายนอก                         ชั้นความลับ  (ถ้ามี)                                      แบบที่ ๑
http://gotoknow.org/file/misschira/view/94323(ตามระเบียบ ข้อ ๑๑)


ชั้นความเร็ว  (ถ้ามี) 
ที่................................................                                                  (ส่วนราชการเจ้าของหนังสือ)
                                                          (วัน เดือน ปี)
เรื่อง...............................................................
(คำขึ้นต้น)
อ้างถึง  (ถ้ามี)
สิ่งที่ส่งมาด้วย  (ถ้ามี)
                   (ข้อความ)...............................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................                                                          (คำลงท้าย)
                                                                   (ลงชื่อ)
                                                                                      (พิมพ์ชื่อเต็ม)
                                                                                         (ตำแหน่ง)    
(ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง)
โทร. ..........................
*โทรสาร . ..........................
สำเนาส่ง  (ถ้ามี)
                                                ชั้นความลับ  (ถ้ามี)

*แก้ไขเพิ่มเติมโดยหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี  ที่ นร  ๑๐๐๒/ว ๑๗  ลงวันที่  ๓๑  กรกฏาคม  ๒๕๓๔

                                                                                                         





แบบที่ ๒
http://gotoknow.org/file/misschira/view/94323                                                ชั้นความลับ  (ถ้ามี)                            แบบหนังสือภายใน               
                 ชั้นความเร็ว  (ถ้ามี)
                                                บันทึกข้อความ

ส่วนราชการ............................................................................................................................................
ที่ ..........................................................วันที่ .........................................................................................
เรื่อง........................................................................................................................................................
(คำขึ้นต้น)
                   (ข้อความ)....................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................                            
                                                          (ลงชื่อ)

                                                                                      (พิมพ์ชื่อเต็ม)
                                                                                        (ตำแหน่ง)
                                                ชั้นความลับ  (ถ้ามี)(โลโก้) อบต
คู่มือการปฏิบัติงาน 
ทะเบียนประวัติข้าราชการ
และพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น






องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ
อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม












คำนำ

แบบทะเบียนประวัติของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เริ่มจัดทำตั้งแต่มีการจัดตั้งรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นและเริ่มบรรจุบุคคลเข้าทำงานในองค์กรส่วนท้องถิ่น  โดยกำหนดให้ใช้รูปแบบและระเบียบตามแบบของข้าราชการพลเรือนโดยอนุโลม  ตลอดเวลาที่ผ่านมามีการบรรจุข้าราชการและพนักงาน เข้าทำงานในส่วนท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ทำให้มีบัตรประวัติประจำตัวบุคลากร มีจำนวนมากไปด้วย

ซึ่งในการกรอกบัตรประวัติดังกล่าวเป็นการกรอกตามความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำให้แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไปตามความเข้าใจของแต่ละคน เนื่องจากยังไม่เคยมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติงานทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาก่อน  จึงทำให้บัตรประวัติดังกล่าว เกิดความผิดพลาดและแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น 

ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นไปโดยถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  จึงได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้น โดยอาศัยแนวทางตามแบบของข้าราชการพลเรือนเป็นสำคัญ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นต่อไป



















 




ทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น
บัตรทะเบียนประวัติข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น 
เป็นเอกสารสำคัญที่ข้าราชการทุกคนต้องมีและใช้ประโยชน์ไปตลอดชีวิตของการรับราชการและหลังจากเกษียณอายุราชการ  เป็นเอกสารอ้างอิง และเป็นบันทึกประวัติบุคคลของทางราชการในส่วนที่จำเป็นและ มีความสำคัญ   โดยจัดทำขึ้นตาม
1.ประกาศ ก.จ.จ. , ก.ท.จ. , ก.อบต.จังหวัด  เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล  
ข้อ 358,388 และ355 ตามลำดับ ได้กำหนดไว้ว่า  “การจัดทำทะเบียนประวัติของข้าราชการ และพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ลักษณะ รูปแบบ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ วิธีการบันทึกรายการในทะเบียนประวัติ และการจัดทำแฟ้มทะเบียนประวัติ  ให้นำกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรี ที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน มาบังคับใช้โดยอนุโลม”
2.หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร  1007/ว 28 ลงวันที่ 15 กันยายน 2518 เรื่อง  ก.พ.7 แบบใหม่และแฟ้มประวัติข้าราชการ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 1007/ว 40 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2518 เรื่อง   คู่มือการจัดทำ ก.พ.7 แบบใหม่
3.ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ พ.ศ. 2548ข้อ 4 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า “สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ หน่วยงานอื่นซึ่ง มิได้สังกัดฝ่ายบริหาร อาจนำระเบียบนี้ไปใช้ได้โดยอนุโลม”
ความสำคัญของบัตรประวัติ
1.ต่อตัวเจ้าของประวัติที่จะนำมาใช้ประโยชน์ เช่น เมื่อรับราชการอยู่ ใช้ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน การ
ปรับปรุงตำแหน่ง  การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และภายหลังจากเกษียณอายุราชการ ใช้ในการนับอายุราชการ นับวันทวีคูณ การคำนวณบำเหน็จบำนาญ เป็นต้น
2.และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐ ในการบริหารงานบุคคล การพัฒนาบุคคลากร การวางแผนงานด้านการงบประมาณและการคลัง เช่น การบรรจุแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ การโอนย้าย การวางแผนกำลังพล การวางแผนงบประมาณประจำปี  การสรรหาบุคลากรที่ความสามารถในแต่ละสายอาชีพ ให้เพียงพอและเหมาะสมกับตำแหน่ง การจัดฝึกอบรมเพิ่มความรู้ความสามารถบุคลากรในด้านที่ขาดแคลน  เป็นต้น
แฟ้มทะเบียนประวัติ 
เป็นแฟ้มที่เก็บบัตรประวัติและเอกสารที่อ้างอิง เกี่ยวข้องหรือใช้ยืนยันข้อมูลในบัตรประวัติทั้งหมดที่มีความ
สำคัญ ต้องใช้เอกสารของทางราชการประกอบ เช่นสำเนาหลักฐานการศึกษา ใบเกิด ทะเบียนบ้าน หนังสือสั่งการต่าง ๆ เป็นต้น
บัตรประวัติมีการบันทึกข้อมูลสำคัญ 2 ส่วน
1.ข้อมูลส่วนตัว ชื่อสกุล ว//ป เกิด คู่สมรส บิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกอบรม การดูงาน สถานที่
เกิด สถานที่อยู่ ภาพถ่าย ลายมือชื่อใต้ภาพถ่าย
2.ข้อมูลการปฏิบัติราชการ หน่วยงานที่สังกัด ตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง  บันทึกการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ความผิดทางวินัย อัตราเงินเดือน บัตรประวัติ ของ อบจ. มีสีขาว (เหมือนแบบ ก.พ.7) บัตรประวัติ ของ อบต. มีสีเขียว และของเทศบาล มีสีเหลือง ทุกแบบเป็นกระดาษแข็ง หนา 310 แกรม เพื่อความคงทน
การจัดทำบัตรประวัติ
-ให้ส่วนราชการผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. 
ที่ สร 1007/ว 40 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2518 เรื่อง คู่มือการจัดทำ ก.พ.7 แบบใหม่
-ต้องจัดทำบัตรประวัติให้แล้วเสร็จภายใน 5 วัน นับจากวันที่มีคำสั่งบรรจุแต่งตั้งให้เข้ารับราชการ และต้อง
จัดทำตามจำนวน ดังนี้
-2-

-อบต.และเทศบาล จัดทำ 3 ชุด ทุกชุดต้องเหมือนกันทั้งหมด (ทั้ง 3 ชุด ที่จัดทำเป็นต้นฉบับทั้งหมด  ไม่ใช่
สำเนา)  ชุดแรกเก็บไว้ที่หน่วยงานต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ท้องถิ่นจังหวัด ชุดที่ 3 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ  ก.ท. , .อบต.)
-อบจ. จัดทำจำนวน 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้ที่ต้นสังกัด ชุดที่ 2 ส่งให้ สถ. (สำนักงานเลขานุการ  ก.จ.)
การบันทึกรายการในบัตรประวัติ มี 2 ส่วน
1.ส่วนที่ 1 เจ้าของประวัติเป็นผู้เขียนบันทึก ประกอบด้วย  ตำแหน่งชื่อ สกุล ว//ป เกิด วันเกษียณอายุ
สถานที่เกิด ที่อยู่ถาวร ชื่อคู่สมรส ชื่อบิดามารดา ประวัติการศึกษา การฝึกและการอบรม
2.ส่วนที่ 2 พนักงานประวัติเป็นผู้เขียนบันทึก(ปลัด อบจ. ปลัด อบต. และปลัดเทศบาล) ประกอบด้วย  ชื่อ
หน่วยงานต้นสังกัด อำเภอ จังหวัด ตำแหน่ง เลขที่ตำแหน่ง วันเริ่มรับราชการ บันทึกการเปลี่ยนแปลง ความผิดทางวินัย ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
การบันทึกข้อมูลลงในบัตรประวัติ
ข้อมูลที่บันทึกจะต้องมีความสำคัญ เพราะจะเป็นเอกสารอ้างอิงของทางราชการต่อไปในอนาคต จึงมีความสำคัญมาก ดังนั้น ต้องบันทึกไปตามความเป็นจริง ตามหลักฐานที่มีอยู่จริงต้องเขียนบันทึก  ด้วยปากกาสีดำหรือน้ำเงิน ลายมือตัวบรรจง ชัดเจนและอ่านง่าย 
ตัวอย่างที่ 1

บัตรประวัติพนักงาน
                                                                                                                                                                                               
                                                                             อำเภอ…นครชัยศรี….จังหวัด..นครปฐม
องค์การบริหารส่วนตำบล…ท่ากระชับ.สำนัก/ส่วน.สำนักงานปลัด อบต...ตำแหน่ง.บุคลากร ..เลขที่ตำแหน่ง..01-0108-001
 
                                               

หมายเหตุ ให้ใส่ที่ตั้ง อำเภอ………  จังหวัด…….…  เพิ่มเติมไว้ที่มุมขวาด้านบน(ในบัตรจริงไม่มีการระบุไว้)
- ภายถ่าย มีขนาด 2 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน เปลี่ยนใหม่ ทุก 7 ปี (เจ้าของบัตรบันทึก)
-          ใต้ภาพถ่าย  ลงลายมือชื่อเจ้าของประวัติกำกับไว้
-           
-          ให้เพิ่มเติมเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักไว้ใต้ลายมือชื่อเจ้าของประวัติด้วย ซึ่งในบัตรจริงไม่มีการระบุไว้ (เจ้าของบัตรบันทึก)

ตัวอย่างที่ 2
 








                            


1-1234-12345-12-1
 
 


-3-

1.คำนำหน้าชื่อ ฐานันดร ยศ ชื่อ สกุล ในปัจจุบัน ที่ดำรงอยู่ (เจ้าของบัตรบันทึก)
2.วัน เดือน ปีเกิด (เจ้าของบัตรบันทึก) มีความสำคัญมากเพราะจะเป็นวันที่ใช้กำหนดการเกษียณ
อายุราชการเพื่อคำนวณการคิดบำเหน็จบำนาญต่อไป  ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ และต้องตรงกับทะเบียนบ้าน ใบเกิด บัตรประจำตัวประชาชน เช่น 1 มกราคม 2530(ให้ใช้ ปี พ.ศ.) ในหัวข้อนี้  พนักงานประวัติต้องตรวจทานโดยรอบครอบ ให้ถูกต้องและตรงกันในทุกๆ ฉบับ
3.เกิดที่อำเภอ ……..จังหวัด…….ตามใบเกิด (เจ้าของบัตรบันทึก)
     4.ที่อยู่ถาวร….เลขที่ ..หมู่ที่…ตำบล…อำเภอ…จังหวัด….(เจ้าของบัตรบันทึก)
           5.เริ่มรับราชการเมื่อ…..(พนักงานประวัติบันทึก) ว/ด/ป ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ (ให้ใช้ปี พ.ศ.)…
คือวันที่เริ่มปฏิบัติงานจริงๆ อาจเป็นวันเดียวกันกับวันสั่งบรรจุก็ได้ หรือหลังจากวันนั้นก็ได้ เพราะอาจมีบางกรณี ผู้ได้รับการบรรจุมารายงานตัวเข้าปฏิบัติงานภายหลังวันที่ได้รับการบรรจุก็มี จึงให้บันทึกวันเริ่มปฏิบัติงานจริง            
          ยกเว้นการบรรจุผู้สอบแข่งขันได้ จะต้องเริ่มปฏิบัติราชการในวันเดียวกันกับวันที่สั่งบรรจุ ทั้งนี้ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4/ว 15 ลงวันที่ 9 กันยายน 2535 กำหนดว่า เมื่อทางราชการกำหนดเวลาที่จะบรรจุและแต่งตั้งแล้ว ผู้สอบแข่งขันได้ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการทันที  ถ้าไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดก็จะต้องถูกยกเลิกการขึ้นบัญชี
            กรณีผู้ย้ายโอนมาจากข้าราชการทหาร จะถือว่าได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการทหาร  เมื่อใดนั้น โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ.2521 กำหนดว่า“ข้าราชการทหาร”หมายความว่า  ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร มิได้รวมถึงนักเรียนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนของทางราชการทหาร จึงถือได้ว่าได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการทหารภายหลัง  จากที่ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายสิบทหารบกแล้ว ขณะเป็นนักเรียนนายสิบแม้จะได้ขึ้นเป็นทหารกองประจำการแล้วก็ตาม ก็มีสภาพเป็นเพียงทหารกองประจำการ มิได้ถือว่าเป็นข้าราชการทหาร แต่อย่างใด ตามหนังสือกรมเสมียนตรา กระทรวงกลาโหม ที่ กห 0201/2175 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 เรื่อง การการนับวันบรรจุเข้ารับราชการเป็นทหาร
            6.   วันเกษียณอายุ (เจ้าของบัตรบันทึก) ให้เขียนคำเต็ม ห้ามย่อ ในหัวข้อนี้ใช้คำที่ไม่ชัดเจนทำให้มีการตีความและบันทึกหลากหลายมาก ส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าเป็นวันเกษียณราชการ แต่ ก.พ.ให้ความเห็นว่า
            * วันเกษียณอายุ คือวันที่มีอายุครบ 60 ปี จึงให้บันทึกวันที่เจ้าของบัตรประวัติมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ คือ วันก่อนวันเกิด 1 วัน และปีเกิดบวก 60 เช่น เกิดวันที่ 12 มกราคม 2509 จะเกษียณอายุวันที่ 11 มกราคม 2569
            * วันเกษียณราชการ ม.19 แห่ง พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ(ฉบับที่25) (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551) ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วเป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ เช่น เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 2509(เกิดในปีงบประมาณ 2510)จะเกษียณราชการวันที่ 1 ตุลาคม 2570  
            ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในบัตรประวัติจะไม่มีวันเกษียณราชการแต่อย่างใด
            7.  ชื่อคู่สมรส  ชื่อและนามสกุล ตามทะเบียนสมรส  สถานที่ประกอบอาชีพ ระบุหน่วยงาน สถานที่ตั้ง
(เจ้าของบัตรบันทึก)
            8.  ชื่อบิดา-มารดา ที่อยู่ปัจจุบัน ดูตามใบเกิด และทะเบียนบ้าน (เจ้าของบัตรบันทึก)




-4-

ตัวอย่างที่ 3
1.ชื่อ พ.ต.ท. ดร...รักชาติ  ไทยเจริญ
2.วัน เดือน ปีเกิด.. 25 มกราคม 2508
3.เกิดที่อำเภอ…นางรอง……
จังหวัด………นครนายก
4.ที่อยู่ถาวร.. 3/2 ม.6 ต.ในเมือง
อ.เมือง..จ.นครนายก
5.เริ่มรับราชการเมื่อ1กุมภาพันธ์ 2530
6. วันเกษียณอายุ..24 มกราคม 2568
7.ชื่อคู่สมรส ………นางสุดโสภา  ไทยเจริญ……
   สถานที่ประกอบอาชีพ.โรงพยาบาล จ.นครนายก อ.เมือง จ.นครนายก..
8.ชื่อบิดา-มารดา ……นายศักดิ์-นางศรี  ไทยเจริญ……
   ที่อยู่ปัจจุบัน……3/1 ม.6 ต.ในเมือง อ..เมืองฯ จ.นครนายก...
           9.   ประวัติการศึกษา (พนักงานประวัติบันทึก)
                  9.1  สถานศึกษา  ชื่ออย่างเป็นทางการควรบันทึกตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปจนถึงระดับสูงสุด
                  9.2  วุฒิที่ได้รับ -ให้ระบุสาขาหรือวิชาเอกที่เรียนด้วย เพราะจะมีประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลและต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่ ก.พ.ให้การรับรองแล้วเท่านั้น  ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0706/2/ว 7 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2531 เรื่องการนำวุฒิที่ข้าราชการได้รับเพิ่มขึ้นระหว่างรับราชการบันทึกลงในทะเบียนประวัติ
                  9.3  ตั้งแต่ – ถึง (เดือน - ปี)   เดือน- ปี พ.ศ.ที่เริ่มเข้ารับการศึกษา – เดือน-ปี พ.ศ. ที่จบการศึกษา
ตัวอย่างที่ 4
9.ประวัติการศึกษา
สถานศึกษา
วุฒิที่ได้รับ
ระบุสาขาวิชาเอก(ถ้ามี)
ตั้งแต่ – ถึง
(เดือน – ปี)
โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น
โรงเรียนอำนวยศิลป์
ม.ธรรมศาสตร์
สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)
ประถมศึกษาปีที่ 6
มัธยมศึกษาปีที่ 6
รัฐศาสตร์บัณฑิต(การเมืองการปกครอง)
รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
พ.ค.2510-ก.พ.2516
พ.ค.2516-มี.ค.2522
มิ.ย.2522-มี.ค.2536
พ.ค.2536-ก.พ.2537

          10. ประวัติการดูงานหรือฝึกอบรม (พนักงานประวัติบันทึก)
                10.1  สถานที่ ชื่อ สถาบัน หน่วยงาน
                10.2  วุฒิที่ได้รับ  ชื่อหลักสูตรหรือวิชา
                10.3  ตั้งแต่ – ถึง (เดือน - ปี)  เดือน/ปี ที่เริ่มเข้ารับการดูงาน/ฝึกอบรม– ที่จบหลักสูตร(ให้ใช้ ปี พ.ศ.)






-5-

ตัวอย่างที่ 5
10.ประวัติการดูงานหรือฝึกอบรม
สถานที่ดูงานหรือฝึกอบรม
วุฒิที่ได้รับ

ตั้งแต่ – ถึง
(เดือน – ปี)
โรงเรียนการปกครองส่วนท้องถิ่น
โรงเรียนปลัดอำเภอ
โรงเรียนนายอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ปลัดอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง)
นายอำเภอ
มิ.ย.2539-ส.ค.2539
ม.ค.2540-มี.ค.2540
มี.ค.2541-ก.ย.2541

11. บันทึกการเปลี่ยนแปลง  (พนักงานประวัติบันทึก)
                เป็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ๆ ของเจ้าของประวัติ เช่น การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด เปลี่ยน
สายงานข้ามสายงาน การเปลี่ยน ตำแหน่ง เป็นต้น ต้องลงเลขคำสั่งและวันที่ ที่อนุมัติตามคำสั่งด้วย และลงลายมือชื่อของพนักงานประวัติผู้แก้ไขกำกับด้วยทุกครั้ง
ตัวอย่างที่ 6
11.บันทึกการเปลี่ยนแปลง
พนักงานประวัติ
สอบเปลี่ยนสายงานจากตำแหน่ง จนท.จัดเก็บรายได้ และบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งนิติกรตามคำสั่ง ทน.ขอนแก่น ที่ 12/2548  ลว. 23 ม.ค.48


ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น ลว. 1 ก.พ.2548

          12. ความผิดทางวินัย (พนักงานประวัติบันทึก)
                12.1  วัน เดือน ปี ที่มีคำสั่งลงโทษ (ให้ใช้ ปี พ.ศ.)
                12.2  เรื่อง  ความผิดที่ทำให้ถูกลงโทษ
                12.3  คำสั่ง..(ของหน่วยงานที่ลงโทษ)..ที่………../……….ลงวันที่…………………………….
ตัวอย่างที่ 7
12.ความผิดทางวินัย
วัน เดือน ปี
เรื่อง
โทษ
คำสั่ง
1 ม.ค.2539



ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
ภาคทัณฑ์
ทม.ราชบุรี ที่ 12/2539   ลว. 28 ม.ค.2539
ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น ลว. 12 ม.ค.2539


-6-

13. ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน (พนักงานประวัติบันทึก)
                13.1  วัน เดือน ปี ที่อนุมัติดูตามคำสั่ง (ให้ใช้ ปี พ.ศ.)
                13.2  ตำแหน่ง ขื่อตำแหน่ง ดูตามคำสั่ง
                13.3  อัตราเงินเดือน  ระดับ  ขั้น ดูตามคำสั่ง
                13.4  คำสั่ง..(ของหน่วยงานที่สั่ง)..ที่………../……….ลงวันที่…………………………….
                13.5  ต้องลงลายมือชื่อของพนักงานประวัติด้วย
ตัวอย่างที่ 8
13.ตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
วัน เดือน ปี
ตำแหน่ง
อัตราเงินเดือน
คำสั่ง
พนักงานประวัติ
ระดับ
ขั้น
10 มี.ค.49




เจ้าหน้าที่ธุรการ             ทน.ขอนแก่น
06-0211-003
1
5,530
บรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานเทศบาลตามคำสั่ง ทน.ขอนแก่น ที่ 125/2541  ลว. 13 มี.ค.41
ÃÁz
(นายรัก ชาติเจริญ) ปลัด ทน.ขอนแก่น    20 มี.ค.41

เมื่อกรอกข้อมูลใน บัตรประวัติเรียบร้อยแล้ว ให้พนักงานประวัติตรวจทานรายละเอียดให้ ถูกต้อง
ชัดเจนตรงกันทุกฉบับอีกครั้ง  ก่อนจะนำส่ง สำนักงานเลขานุการ ก.จ. ,ก.ท. และ ก.อบต. ต่อไป
ข้อควรระวังในการเขียนบัตรประวัติ     
-ก่อนเริ่มทำงานวันแรก ให้ทำบัตรประวัติก่อนเลยอย่าปล่อยให้เนิ่นนานจะมีปัญหาภายหลัง
-การเขียนต้องบรรจง ชัดเจน สวยงามและอ่านง่าย
                    -วัน เดือนปี  ให้เขียนเต็ม อย่าย่อ และให้ใช้  ปี พ.ศ. เท่านั้น
-วัน /เดือน/ปี เกิด พนักงานประวัติต้องตรวจทานให้ถูกต้องก่อนลงนาม
-ประวัติการศึกษา ต้องเป็นวุฒิการศึกษาที่ ก..รับรองแล้วเท่านั้น
-บัตรประวัติทั้ง 3 ฉบับ ที่จัดทำขึ้น ถือว่า เป็นต้นฉบับทั้งหมด  ไม่ใช่สำเนา
-รูปถ่ายให้เปลี่ยนใหม่ทุก 7 ปี (ขนาด 2 นิ้ว)
ขั้นตอนการปฏิบัติในการขอเพิ่มเติมข้อมูลในบัตรประวัติ
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมข้อมูลพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนหัวหน้าหน่วยงาน คือ นายกฯ ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัดฯ นายกฯ)
          2. หัวหน้าหน่วยงาน(นายกฯ) อนุมัติให้เพิ่มข้อมูลตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)บันทึกข้อมูลเพิ่มเติมในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เสนอนายกฯ เพื่อทราบด้วย

การแก้ไขบัตรประวัติ 

มี 2 กรณี คือ 1.การแก้ไขทั่วไป และ 2.การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด

ในการแก้ไขข้อความในบัตรประวัติ  ห้าม ขูด ลบด้วยยางลบหรือป้ายด้วยยาลบหมึก ให้ ใช้วิธีขีดฆ่าข้อความแล้วเขียนใหม่ด้วยปากกา และต้องลงนามกำกับโดยผู้ที่แก้ไขและหัวหน้าส่วนราชการผู้ลงนามรับรอบในบัตรประวัติ

-7-

ทุกครั้งที่มีการแก้ไข ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร  1007/ว 28 ลงวันที่ 15 กันยายน 2518 เรื่อง ก.พ.7 แบบใหม่และแฟ้มประวัติข้าราชการ
           -   การแก้ไขโดยทั่วไป  ต้องมีเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือได้ มาประกอบคำร้องขอแก้ไข ให้เสนอไปตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา และให้นายก อบจ.,อบต.,เทศบาล อนุมัติ พนักงานประวัติ จึงแก้ไขลงบันทึกในบัตรประวัติได้ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับ ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม
ขั้นตอนการปฏิบัติในการแก้ไข
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูลพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนหัวหน้าหน่วยงาน คือ นายกฯ ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัดฯ นายกฯ)
          2. หัวหน้าหน่วยงาน(นายกฯ) อนุมัติตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)แก้ไขโดยขีดฆ่าข้อความและเขียนใหม่ในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เจ้าของบัตรลงนามกำกับและเสนอนายกฯ ลงนามกำกับด้วย
           -   การแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด  มีความสำคัญมากเพราะเกี่ยวเนื่องกับวันเกษียณราชการ การแก้ไข จะขึ้นกับกฎหมายและระเบียบในการเกษียณราชการและเรื่องบำเหน็จบำนาญ จึงยากกว่ากรณีทั่วไป ต้องมีเอกสารอ้างอิงของทางราชการที่เชื่อถือได้ เช่น ใบเกิด ทะเบียนบ้านที่ถูกต้อง ชัดเจน ไม่มีรอยขูดลบหรือมีตำหนิมีการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง มาประกอบคำร้องขอแก้ไข เสนอไปตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา และเมื่อได้รับอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ คือผู้ว่าราชการจังหวัด (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด ในทะเบียนประวัติข้าราชการ พ.ศ. 2548 ข้อ4วรรค 2 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2500 ม. 22 ) แล้ว พนักงานประวัติ จึงแก้ไขลงบันทึกในบัตรประวัติได้ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม
ขั้นตอนการปฏิบัติในการแก้ไข วัน เดือน ปีเกิด
          1.  เจ้าของบัตรฯ ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมหลักฐานประกอบเสนอเรียนเจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ
(ผวจ.) ผ่านตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา (ปลัด ฯ นายกฯ จนถึง ผวจ.)
          2. เจ้าหน้าที่ควบคุมเกษียณอายุ(ผวจ.) อนุมัติตามที่ขอ
          3. พนักงานประวัติ(ปลัดฯ)แก้ไขโดยขีดฆ่าข้อความและเขียนใหม่ในบัตรประวัติและลงนามกำกับ
          4. เจ้าของบัตรลงนามกำกับและเสนอนายกฯ ลงนามกำกับด้วย

แนวทางปฏิบัติกรณีบัตรประวัติข้าราชการ/พนักงาน อปท. ชำรุดสูญหาย

          การดำเนินการบัตรประวัติชำรุดสูญหาย แบ่งเป็น 2 กรณี
1. บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน 
2. บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ     
1.บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน
พนักงานประวัติ (ปลัด อปท.) ตรวจสอบในส่วนที่ชำรุดเสียหายแล้ว  ทำบันทึกรายงานความเสียหายให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ แล้วดำเนินการ ดังนี้
             1.1 พนักงานประวัติ ตรวจสอบหาสำเนาเอกสารหรือภาพถ่ายเอกสารซึ่งอาจมีอยู่กับ  เจ้าของประวัติหรือหน่วยงานที่เคยใช้สำเนาบัตรประวัติในการดำเนินการ เช่น การสมัครสอบเลื่อนระดับ การขอรับเครื่องราชฯ เป็นต้น เมื่อรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมมา ไปยังสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดและ สถ.  เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายต่อไป
-8-

             1.2 เมื่อไม่สามารถค้นหาสำเนา เอกสาร หรือภาพถ่ายบัตรประวัติใดๆ ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ ทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติในส่วนที่ชำรุดจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด เมื่อรวบรวม
หลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมได้ ไปยัง สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายได้
   1.3 เมื่อสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดไม่มีบัตรประวัติที่ชำรุดและไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใดตามข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ขอคัดลอกไปยัง สถ. โดยทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติในส่วนที่ชำรุดจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ที่ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติคัดลอกเฉพาะในส่วนที่ชำรุดเสียหายได้ 
             กรณี บัตรประวัติชำรุดเสียหายบางส่วน เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติการให้บันทึกบัตรประวัติส่วนที่เสียหายขึ้นใหม่แล้ว ให้พนักงานประวัติทำการบันทึกส่วนที่เสียหายลงในบัตรประวัติ แล้วให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับ ในส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นใหม่
  2.  บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ
 พนักงานประวัติ (ปลัด อปท.) ตรวจสอบบัตรประวัติที่สูญหายแล้ว  ทำบันทึกรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ แล้วดำเนินการ ดังนี้
                 2.1 ให้ดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยแสดงถึงสาเหตุและพฤติการณ์ที่เอกสารสูญหาย โดยให้มีรายงานประจำวันรับแจ้งความของพนักงานสอบสวนเป็นหลักฐานประกอบในการดำเนินการต่อไป
                 2.2 พนักงานประวัติ ตรวจสอบหาสำเนาเอกสารหรือภาพถ่ายเอกสารซึ่งอาจมีอยู่กับเจ้าของประวัติหรือหน่วยงานที่เคยใช้สำเนาบัตรประวัติในการดำเนินการ เช่น การสมัครสอบเลื่อนระดับ การขอเครื่องราชฯ เป็นต้น เมื่อรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติ บันทึกขอตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมนั้น ไปยัง สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดและ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่ เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่                       
                 2.3 เมื่อไม่สามารถค้นหาสำเนา เอกสาร หรือภาพถ่ายบัตรประวัติใดๆ ได้แล้ว ให้พนักงานประวัติทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติจากบัตรประวัติชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด ให้พนักงานประวัติรวบรวมหลักฐานที่มีอยู่บันทึกขอตรวจสอบข้อมูล ไปยัง สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณา อนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่
   2.4 เมื่อสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดไม่มีบัตรประวัติที่สูญหายและไม่สามารถหาได้จากที่อื่นใดตามข้อ 1.1
และ 1.2 แล้ว ให้ขอคัดลอกไปยัง สถ. โดยทำบันทึกขอคัดลอกบัตรประวัติจากชุดที่นำส่งไปเก็บรักษาไว้ที่ สถ. เมื่อได้รับหนังสือตอบแล้วให้พนักงานประวัติ รวบรวมหลักฐานที่เชื่อถือได้ ทำบันทึกเสนอผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่
                   กรณี บัตรประวัติสูญหายทั้งฉบับ เมื่อผู้บริหารท้องถิ่น อนุมัติการจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่ ให้พนักงานประวัติจัดทำบัตรประวัติขึ้นใหม่ 3 ชุด (ถือเป็นต้นฉบับ) โดยมีใจความถูกต้องตรงกันทั้ง 3 ชุด ให้เจ้าของประวัติและผู้บริหารท้องถิ่นลงนามกำกับทุกชุด โดย อปท. เก็บรักษาไว้ 1 ชุด  ที่เหลือส่งไปเก็บที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด 1 ชุด และ สถ. 1 ชุด (ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0706/2/4002 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2533 เรื่อง  แนวทางในการจัดทำ ก.พ.7)
หลักการ
1.        หาสำเนาจากสำเนาที่มีอยู่ในส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
-9-

          2.   หาสำเนาจากชุดที่เก็บไว้ที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด
3.       หาสำเนาจากชุดที่เก็บไว้ที่ สถ.

การจัดทำแฟ้มประวัติส่วนบุคคล
                 เนื่องจากเอกสารทะเบียนประวัติมีความจำเป็นต่ออาชีพข้าราชการดังที่กล่าวมาแล้ว  แต่เอกสารดังกล่าวเป็นของทางราชการไม่สามารถครอบครองเป็นของตนเองได้  จากประสบการณ์ในการรับราชการของผู้บรรยาย พบว่ามีข้าราชการจำนวนมากที่ประสบปัญหาเมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว มีความจำเป็นต้อง ใช้เอกสารที่เก็บไว้ในแฟ้มทะเบียนประวัติแต่พบว่าเอกสารสูญหาย อาจเป็นด้วยการโยกย้ายหลายครั้ง การรับราชการยาวนานกว่า 20-30 ปี เกิดการชำรุดเสียหาย หรือเกิดไฟไหม้ที่เก็บเอกสาร  และการที่จะค้นหาตามสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดหรือที่กรมฯ อาจได้เอกสารหลักฐานไม่ครบหรือหาไม่เจอ เนื่องจากปริมาณเอกสารมีมากมาย เป็นต้น 
        ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ข้อแนะนำของผู้บรรยายให้ข้าราชการทุกท่านจัดตั้งแฟ้มส่วนบุคคลของตนเองขึ้น ใช้เก็บสำเนาเอกสารทุกอย่างที่มีความสำคัญกับตัวเอง เช่น สำเนาบัตรประวัติ สำเนาหนังสือสั่งบรรจุ สั่งเลื่อนขั้น โยกย้าย สำเนาราชกิจจาฯ ที่เกี่ยวเนื่องกับกฎอัยการศึกเพื่อนับวันรับราชการทวีคูณ เป็นต้น เมื่อโยกย้ายไปทำงานที่อื่นก็สามารถนำติดตัวไปได้ เพราะเป็นเอกสารส่วนบุคคล เป็นแฟ้มเอกสารส่วนตัวที่ใช้สำรองได้หาเกิดปัญหาดังที่กล่าวมา

ไม่มีความคิดเห็น: