“มุ่งมั่นพัฒนาให้ได้มาตรฐาน บริหารงานให้ได้ผล จุดมุ่งหมายคือตำบล ประชาชนได้รับคุณค่า ในการพัฒนาที่ยั่งยืน”

แผนการขับเคลือนหน่วยงาน

ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                         ๑. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
                                ๑.๑ แผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่๓๐มิถุนายน๒๕๕๘เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทาร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ๒๐ปีเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืนและให้เสนอร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ๒๐ปีให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นกรอบในการดาเนินงานในระยะที่๒ของรัฐบาล (ปี๒๕๕๘ -๒๕๕๙) และกรอบการปฏิรูปในระยะที่๓ (ปี๒๕๖๐เป็นต้นไป)ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์และทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่อนาคตที่พึงประสงค์นั้นจำเป็นจะต้องมีการวางแผน
และกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะยาวและกำหนดแนวทางการพัฒนาของทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาวเพื่อถ่ายทอดแนวทางการพัฒนาสู่การปฏิบัติในแต่ละช่วงเวลาอย่างต่อเนื่องและมีการบูรณาการและสร้างความเข้าใจถึงอนาคตของประเทศไทยร่วมกันและเกิดการรวมพลังของทุกภาคส่วนในสังคมทั้งประชาชนเอกชนประชาสังคมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อการสร้างและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติและบรรลุวิสัยทัศน์ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือคติพจน์ประจำชาติมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนเพื่อให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันมีรายได้สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วคนไทยมีความสุขอยู่ดีกินดีสังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรมซึ่งยุทธศาสตร์ชาติที่จะใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ๒๐ปีต่อจากนี้ไปจะประกอบด้วย๖ยุทธศาสตร์ได้แก่
 () ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
 () ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
 () ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
 () ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
() ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
() ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยมีสาระสำคัญของแต่ละยุทธศาสตร์สรุปได้ดังนี้
..๑ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงมีเป้าหมายทั้งในการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศและช่วยลดและป้องกันภัยคุกคามจากภายนอกรวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มประเทศอำเซียนและประชาคมโลกที่มีต่อประเทศไทยกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
(๑)การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒)การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศและพัฒนาความมั่นคงทางการเมืองขจัดคอร์รัปชั่นสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
(๓)การรักษาความมั่นคงภายในและความสงบเรียบร้อยภายในตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล
(๔)การพัฒนาระบบกลไกมาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับและรักษาดุลยภาพความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่         
(๕)การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกาลังป้องกันประเทศการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ       
(๖)การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
()การปรับกระบวนการทางานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่แนวระนาบมากขึ้น

.. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วซึ่งจาเป็นต้องยกระดับผลิตภาพการผลิตและการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรและบริการการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยด้านอำหารการเพิ่มขีดความสามารถทางการค้าและการเป็นผู้ประกอบการรวมทั้งการพัฒนาฐานเศรษฐกิจแห่งอนาคตทั้งนี้ภายใต้กรอบการปฏิรูปและพัฒนาปัจจัยเชิงยุทธศาสตร์ทุกด้านอันได้แก่โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์และการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
(๑)  การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจได้แก่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและสร้าง
ความเชื่อมั่นการส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นชาติการค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาคและเป็นการยกระดับไปสู่ส่วนบนของห่วงโซ่มูลค่ามากขึ้น
(๒) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการบนฐานของการพัฒนานวัตกรรมและมีความ
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีการใช้ดิจิทัลและการค้าที่เข้มข้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายกิจกรรมการผลิตและบริการโดยมุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับโลกและในระดับภูมิภาคในอุตสาหกรรมหลายสาขาและในภาคบริการที่หลากหลายตามรูปแบบการดาเนินชีวิตและการดาเนินธุรกิจที่เปลี่ยนไปรวมทั้งเป็นแหล่งอำหารคุณภาพสะอาดและปลอดภัยของโลก
-ภาคเกษตรโดยเสริมสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งและยั่งยืนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่การทาการเกษตรยั่งยืนที่เป็น     มิตรกับสิ่งแวดล้อมและรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาอำชีพที่เข้มแข็งและการพัฒนาสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพและอาหารคุณภาพสะอาดและปลอดภัย
-ภาคอุตสาหกรรมโดยพัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรปัจจุบันที่มีศักยภาพสูงและพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพโดยการใช้ดิจิทัลและการค้ามาเพิ่มมูลค่าและยกระดับห่วงโซ่มูลค่าในระดับสูงขึ้น
-ภาคบริการโดยขยายฐานการบริการให้มีความหลากหลายมีความเป็นเลิศและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยการยกระดับบริการที่เป็นฐานรายได้เดิมเช่นการท่องเที่ยวและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพธุรกิจบริการด้านการเงินและธุรกิจบริการที่มีศักยภาพอื่นๆเป็นต้น
(๓) การพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชนพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ
ยกระดับผลิตภาพแรงงานและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสู่สากลและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร
(๔) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมืองพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและ
พัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญจัดระบบผังเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมมีการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ
(๕) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านการขนส่งด้านพลังงานระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการวิจัยและพัฒนา 
(๖)  การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกสร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับ
นานาประเทศส่งเสริมความร่วมมือกับนานาชาติในการสร้างความมั่นคงด้านต่างๆเพิ่มบทบาทของไทยในองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงสร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศ

.. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนเพื่อพัฒนาคนและ
สังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศมีความพร้อมทางกายใจสติปัญญามีความเป็นสากลมีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลมีระเบียบวินัยเคารพกฎหมายมีคุณธรรมจริยธรรมรู้คุณค่าความเป็นไทยมีครอบครัวที่มั่นคงกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
() การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ
() การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง
() การปลูกฝังระเบียบวินัยคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่พึงประสงค์
() การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี
() การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยเสริมสร้างบทบาทของสถาบัน
ครอบครัวในการบ่มเพาะจิตใจให้เข้มแข็ง

..๔.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคมเพื่อเร่งกระจายโอกาสการพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึงลดความเหลื่อมล้าไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรมกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
() การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้าทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
() การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ
() การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดารงชีวิตในสังคมสูงวัย
() การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน
() การพัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา

..๕.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อเร่งอนุรักษ์ฟื้นฟูและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและมีความมั่นคงด้านน้ารวมทั้งมีความสามารถในการป้องกันผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติและพัฒนามุ่งสู่การเป็นสังคมสีเขียวกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
() การจัดระบบอนุรักษ์ฟื้นฟูและป้องกันการทาลายทรัพยากรธรรมชาติ
() การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง ๒๕ ลุ่มน้ำเน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ
() การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
() การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
() การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(๖)  การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
       ๑..๖.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจมีสมรรถนะสูงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลกระจายบทบาทภารกิจไปสู่ท้องถิ่นอย่างเหมาะสมมีธรรมาภิบาลกรอบแนวทางที่ต้องให้ความสำคัญอาทิ
(๑)  การปรับปรุงโครงสร้างบทบาทภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม
() การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ
() การพัฒนาระบบบริหารจัดการกาลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
() การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
() การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆให้ทันสมัยเป็นธรรมและเป็นสากล
() การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
() การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ     
                    
                                ๑.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒
                   ๑) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
พัฒนาคนทุกช่วงวัยเพื่อให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะการพัฒนาและดูแลผู้สูงอายุที่จะมีสัดส่วนสูงขึ้นในสังคมสูงวัยทั้งการสร้างงานที่เหมาะสม การฟื้นฟูและดูแลสุขภาพเพื่อชะลอความทุพพลภาพและโรคเรื้อรัง การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อสังคมสูงวัย มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเป็นฐานการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและรองรับการลดลงของขนาดกำลังแรงงาน โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ การป้องกันและควบคุมปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี การสร้างความอยู่ดีมีสุขให้ครอบครัวไทย รวมทั้งการเสริมสร้างบทบาทของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมในการ
ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสังคม    
   
                   ๒) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม การสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมไทยสามารถเข้าถึงทรัพยากร แหล่งทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อยกระดับรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก การเข้าถึงบริการทางสังคมของรัฐอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม อาทิ การสร้างโอกาสการเข้าถึงการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนได้เต็มตามศักยภาพสามารถประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้โดยมีความใฝ่รู้และทักษะที่เหมาะสม เน้นการเรียนรู้เพื่อสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ การจัดรูปแบบบริการสุขภาพและสวัสดิการทางสังคมขั้นพื้นฐานที่จำเป็นและเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย การพัฒนาระบบบริการสาธารณะให้มีคุณภาพและมีช่องทางการเข้าถึงที่หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาระบบยุติธรรมชุมชนการเพิ่มศักยภาพกองทุนยุติธรรมเพื่อสร้างโอกาสการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ซึ่งจะนำไปสู่การ
ลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำอันจะนำไปสู่การลดความขัดแย้งในสังคมไทย   
    
                   ๓) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง โดยรวมถึงการปฏิรูปภาษีทั้งระบบเพื่อรักษาเสถียรภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจการปรับโครงสร้างทั้งห่วงโซ่คุณค่าในภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ การลงทุน เพื่อต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มของสาขาการผลิตและบริการที่เป็นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน พร้อมทั้งวางรากฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมทั้งกฎระเบียบเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสาขาการผลิตและบริการใหม่ และเศรษฐกิจดิจิทัลภายใต้เงื่อนไขการรักษาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของพื้นที่โดยเฉพาะภาคการผลิตและบริการที่มีศักยภาพที่จะเป็นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมและบริการสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมบนฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอากาศยาน อุตสาหกรรมระบบราง อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจบริการทางการเงิน ธุรกิจการจัดประชุมและนิทรรศการนานาชาติ ธุรกิจภาพยนตร์ การศึกษานานาชาติ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวศูนย์ปฏิบัติการประจำภูมิภาคเป็นต้น       
                           ทั้งนี้ โดยจะให้ความสำคัญกับรูปแบบการพัฒนาในรูปคลัสเตอร์ การสร้างความเชื่อมโยงการผลิตและบริการ การพัฒนา SMEs และการสร้างผู้ประกอบการและเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมถึงการสร้างศักยภาพของลูกหลานเกษตรกร โดยจะต้องพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ทั้งทุนมนุษย์ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การบริหารจัดการและการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้า การลงทุน เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นชาติการค้า อันจะเป็นการสนับสนุนให้เศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๕ ซึ่งเป็นปฐมบทของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเข้าสู่การเป็นประเทศรายได้สูง ที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาว       
                          ๔) ยุทธศาสตร์ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

มุ่งอนุรักษ์ฟื้นฟูสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรม บริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อมโดยเร่งรัดแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ ๒๐ตามเป้าหมายระยะยาว พัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ลดการใช้พลังงาน เพื่อปรับตัวไปสู่รูปแบบของการผลิตและการบริโภคคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น รวมทั้งยกระดับความสามารถในการป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทั้งนี้เพื่อวางรากฐานและสนับสนุนให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

                         ) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคั่งและยั่งยืน 

ให้ความสำคัญกับความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพให้ประเทศสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีสาระครอบคลุม ดังนี้ (๑) สถาบันหลักของชาติให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงเป็นจุดยึดเหนี่ยวของสังคม (๒) ความสามัคคีของคนในชาติ ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ และสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม (๓) ความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในทุกพื้นที่ (๔) การบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนชายฝั่งทะเล เสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคง (๕) สร้างความเชื่อมั่นและพัฒนาความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนและประชาคมโลกเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ ให้สามารถป้องกันแก้ไขปัญหาภัยคุกคามข้ามชาติ ภัยก่อการร้าย (๖) เสริมสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ (๗) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และปกป้อง รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (๘) เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พลังงานและน้ำ โดยการกำหนดแนวทางบริหารจัดการ (๙) เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบภายใน และความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพ
 (๑๐) พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติและระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ(๑๑) การบริหารจัดการยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในระดับพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องรวมทั้งสนับสนุนงานศึกษา วิจัย พัฒนาด้านความมั่นคง

                       ๖) ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในภาครัฐ
เพื่อให้การบริหารจัดการภาครัฐมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและตรวจสอบได้อย่างเป็นธรรมรวมทั้งประชาชนมีส่วนร่วม มีการกระจายอำนาจ และแบ่งภารกิจรับผิดชอบที่เหมาะสมระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น โดยมีประเด็นการพัฒนาสำคัญ ประกอบด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การปรับปรุงการให้บริการภาครัฐผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) การปรับปรุงกระบวนการงบประมาณ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการติดตามตรวจสอบการเงินการคลังภาครัฐ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นโดยการปรับโครงสร้างการบริหารงานท้องถิ่นให้เอื้อต่อการกระจายอำนาจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อให้ประเทศไทยปราศจากการคอร์รัปชั่น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ตามกรอบในอนาคตประเทศไทยปี ๒๕๗๗

                   ๗) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ จะมุ่งเน้นการพัฒนากายภาพโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง การเชื่อมโยงเครือข่ายโทรคมนาคม และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่เมืองการเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ได้มาตรฐาน การพัฒนาความมั่นคงด้านพลังงานและการผลิตพลังงานทดแทน การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และการใช้ประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมระบบราง อุตสาหกรรมซ่อมบารุงและการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทั้งในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการสร้างเครือข่ายการขนส่งระหว่างประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์และการปรับปรุงระบบบริหารจัดการ กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งจากถนนสู่รางเป็นหลัก

                       ๘) ยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๑ ทั้งการเพิ่มการลงทุนวิจัยและพัฒนา และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฯ ทั้งด้านบุคลากรวิจัย โครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการ เพื่อมุ่งให้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ ทั้งการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนำไปสู่ศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น เสริมสร้างสังคมที่มีตรรกะทางความคิด มีทุนทางปัญญา เพื่อเป็นรากฐานการดำรงชีวิตที่มีความสุขของคนไทย บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความสมดุล อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับความเจริญให้กับภาคส่วนต่างๆทั้งเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันจะสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวสู่การแข่งขันในศตวรรษหน้าโดยหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูงในอนาคต

                         
๙) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ศักยภาพ โอกาสและข้อจำกัดของพื้นที่ รวมทั้งความต้องการของภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาฐานเศรษฐกิจเดิมให้เข้มแข็งโดยมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่รองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเจริญสู่ภูมิภาค พัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาคให้เป็นเมืองน่าอยู่และปลอดภัย สนับสนุนการเชื่อมโยงในภูมิภาคเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของพื้นที่และสร้างความอยู่ดีมีสุขให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยมีสาระครอบคลุม ดังนี้ (๑) การพัฒนาภาค (๒) การพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค (๓) การพัฒนาพื้นที่ฐานเศรษฐกิจหลักบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และ (๔) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งความเชื่อมโยงกับการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพ และโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย    

                   ๑๐) ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค
กำหนดยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน ภูมิภาค ให้เกิดการประสานและพัฒนาความร่วมมือกันระหว่างประเทศ ทั้งในเชิงรุกและรับอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการดูแลการดำเนินงานตามข้อผูกพันและพันธกรณีตลอดจนมาตรฐานต่างๆ ที่ไทยมีความเกี่ยวข้องในฐานะประเทศสมาชิก ทั้งในเวทีระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับอนุภูมิภาค อาทิ การดำเนินงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) การประมง การค้ามนุษย์ และอื่นๆ ให้เข้าสู่มาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลก เป็นต้น การเตรียมความพร้อมในการรองรับและดำเนินงานของประเทศไทยภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ (Post-ASEAN 2015) การปรับตัวและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อรองรับและสอดคล้องกับการดำเนินงานตามพันธกรณีของความร่วมมือระดับภูมิภาค อาทิ Regional Comprehensive Economic Partnerships (RCEP) เป็นต้น การเสริมสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค และการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานของการประกอบธุรกิจ การให้บริการทางการศึกษา การให้บริการด้านการเงิน การให้บริการด้านสุขภาพ การให้บริการด้านโลจิสติกส์และการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งเป็นฐานความร่วมมือในเอเชีย

                                ๑.๓ แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดนครปฐม ๔ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๔)
 วิสัยทัศน์ (Vision)กลุ่มจังหวัด
          เมืองเกษตรและอุตสาหกรรมปลอดภัย แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา วัฒนธรรมศูนย์กลางการศึกษา และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

พันธกิจ 
(๑) ส่งเสริมพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกและ
อุตสาหกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
(๒) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา และวัฒนธรรมให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว
(๓) พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงทางสังคม ยกระดับคุณภาพการศึกษา และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ประเด็นยุทธศาตร์

๓ ประเด็นยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๑๒  กลยุทธ์
๑.พัฒนาการจัดการห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร อาหารปลอดภัย และส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
.มูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น และอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง
๑.พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ปัจจัยพื้นฐาน และเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เอื้อต่อการผลิต
๒.พัฒนามาตรฐานการผล การแปรรูป การลดต้นทุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
๓.สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตและพัฒนาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
๔. ส่งเสริมการค้า การตลาด และเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ
๒.ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนา และวัฒนธรรมให้มี
คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว
๒.การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ศาสนาและวัฒนธรรมได้รับการพัฒนา
และยกระดับให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว
๕.พัฒนาโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว และพัฒนาแหลงท่องเที่ยวกิจกรรมสินค้าด้านการท่องเที่ยว
๖.พัฒนามาตรฐานและบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ
๗. พัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงรุก
๓.พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคม ยกระดับคุณภาพการศึกษา
และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๓.ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีสังคมเข้มแข็งการศึกษามีคุณภาพและมีการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
๘.พัฒนาโครงสร้างและปัจจัยพื้นฐานรองรับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดี
๙.เสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน และสร้างความเข้มแข็งทางสังคม
๑๐.พัฒนาการให้บริการทางการศึกษาและสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ
๑๑.บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

                             ๑.๔     ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด 
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในเขตจังหวัดนครปฐม
§    ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม

                                แนวทางการพัฒนาที่ ๑   พัฒนาการศึกษาและส่งเสริมระบบการศึกษาอย่างยั่งยืน
- พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและส่งเสริม  
  การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 
  และส่งเสริมความเสมอภาคในการศึกษา
                                                                                - พัฒนาศักยภาพทางการศึกษา ส่งเสริมทักษะสู่ความเป็นเลิศของ
                                                                        ประชาคมอาเซียน

                       แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  พระบรมวงศานุวงศ์  งานราชพิธี  และงานรัฐพิธี

แนวทางการพัฒนาที่ ๓  ส่งเสริม สนับสนุน แหล่งการเรียนรู้ ช่องทางการรับรู้ข่าวสาร

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ และการปฏิบัติด้านคุณธรรมทางศาสนา จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 


แนวทางการพัฒนาที่ ๕   อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์
ท้องถิ่นและศาสนสถาน

แนวทางการพัฒนาที่ ๖   ส่งเสริม สนับสนุน การเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมในครอบครัวสถานศึกษา และชุมชน

§    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนาที่ ๑   พัฒนา ส่งเสริม และฝึกอบรมอาชีพให้ประชาชน
- สร้างทักษะ พัฒนาฝีมือกลุ่มอาชีพ พร้อมรองรับประชาคม              อาเซียน
- สร้างเครือข่ายในการพัฒนาอาชีพควบคู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิต/ผลผลิตทางการเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ ผลิตภัณฑ์ชุมชน และอุตสาหกรรม SME

                       แนวทางการพัฒนาที่ ๓   ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาของ
                       เศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   ส่งเสริมการพัฒนาพลังงาน พลังงานทดแทน และการประหยัด                    พลังงาน

§    ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาด้านสังคม

แนวทางการพัฒนาที่ ๑   ส่งเสริม สนับสนุนกีฬาและนันทนาการ

แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริม สนับสนุนกิจการสาธารณสุข

แนวทางการพัฒนาที่ ๓   ป้องกัน ต่อต้าน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาสังคม และงานสวัสดิการสังคม

แนวทางการพัฒนาที่ ๕   การป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง และ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                       แนวทางการพัฒนาที่ ๖   ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประสิทธิภาพในการบรรเทา                           สาธารณภัย

แนวทางการพัฒนาที่ ๗เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน

แนวทางการพัฒนาที่ ๘   การเสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคมและความสามัคคี

§    ยุทธศาสตร์ที่ ๔  การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยว

                        แนวทางการพัฒนาที่ ๑พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน พลังงานทดแทน ทรัพยากรธรรมชาติ
                        สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การลดปริมาณขยะ และมลภาวะ

แนวทางการพัฒนาที่ ๒   บำรุงรักษาแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำต่างๆ และการป้องกันน้ำ
ท่วมและน้ำเสีย

แนวทางการพัฒนาที่ ๓   การดูแลรักษา และพัฒนาที่สาธารณะ

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงนิเวศ และ                เชิงสุขภาพ

แนวทางการพัฒนาที่ ๕   พัฒนา ส่งเสริม พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เป็น                    แหล่งท่องเที่ยวใหม่
แนวทางการพัฒนาที่ ๖   การเตรียมความพร้อมในการรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

§    ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

                        แนวทางการพัฒนาที่ ๑  พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีในองค์กร โดยยึดหลักการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และ
ส่งเสริมการปกครองนระบอบประชาธิปไตย

แนวทางการพัฒนาที่ ๒   ส่งเสริมธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ

แนวทางการพัฒนาที่ ๓   ส่งเสริมสวัสดิการแก่ผู้บริหาร และผู้ช่วยเหลือ อปท. สมาชิกสภา อปท.ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงาน

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   ปรับปรุง พัฒนาขีดสมรรถนะและวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากร
                                                - เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาประสิทธิภาพหน่วยงาน
                                                  สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

แนวทางการพัฒนาที่ ๕    สนับสนุนการปฏิบัติงาน ปรับปรุง และพัฒนาระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศ เครื่องมือเครื่องใช้ และอาคารสถานที่

แนวทางการพัฒนาที่ ๖   ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการท้องถิ่น

แนวทางการพัฒนาที่ ๗   ปรับปรุง พัฒนารายได้ และจัดการสินทรัพย์ราชการ
ที่ไม่ได้ใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แนวทางการพัฒนาที่ ๘   เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบภายใน

แนวทางการพัฒนาที่ ๙   สนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ    กระบวนการยุติธรรมชุมชน  และการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี

§    ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาด้านการบริการสาธารณะ

แนวทางการพัฒนาที่ ๑   ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้าเส้นทางจักรยานท่อระบายน้ำ  ท่าเทียบเรือ  ระบบการจัดการขยะ  ระบบบำบัดน้ำเสียและซ่อมแซมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย

แนวทางการพัฒนาที่ ๒   พัฒนาระบบจราจรและการคมนาคมขนส่ง

แนวทางการพัฒนาที่ ๓   พัฒนาระบบไฟฟ้า ประปา และระบบโทรคมนาคม

แนวทางการพัฒนาที่ ๔   ส่งเสริม  สนับสนุน การจัดทำผังเมือง  ผังเมืองรวม  ผังเมืองเฉพาะ และป้องกันการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์

แนวทางการพัฒนาที่ ๕   พัฒนาแหล่งน้ำคูคลอง และระบบชลประทาน เพื่อการ                      อุปโภค-บริโภค  การเกษตร และอื่น ๆ

                         . ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒.๑     วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับ
“มุ่งมั่นพัฒนาให้ได้มาตรฐาน บริหารงานให้ได้ผล จุดมุ่งหมายคือตำบล
ประชาชนได้รับคุณค่า ในการพัฒนาที่ยั่งยืน
๒.๒     ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์การพัฒนา
แผนงาน
๑.ยุทธศาสตร์ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน


.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ


๓.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๔.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม





.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว

.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี

-แผนงานเคหะและชุมชน
-แผนงานการพาณิชย์
- แผนงานการเกษตร

- แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
- แผนงานการเกษตร

- แผนงานการศึกษา
- แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ

-แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
-แผนงานสาธารณสุข
-แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
-แผนงานสังคมสงเคราะห์
-แผนงานงบกลาง
-แผนงานการรักษาความสงบภายใน

- แผนงานการเกษตร
-แผนงานเคหะและชุมชน

- แผนงานบริหารงานทั่วไป
- แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
                        
                    . การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
                                ๓.๑ การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               การวิเคราะห์องค์กรเพื่อกำหนดกลยุทธ์นั้น เทคนิคสำคัญที่นิยมมาใช้ เทคนิควิเคราะห์ศักยภาพองค์กร  (SWOTanalysis) เพราะ SWOT จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ นำมาสู่การปรับปรุงภารกิจขององค์กรก่อให้เกิดการสนทนาอย่างพินิจพิเคราะห์และลงในรายละเอียดของวัตถุประสงค์กลยุทธ์ที่ใช้ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ในเชิงองค์ประกอบของการวางแผน ซึ่งการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสภาพการพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระชับมีดังนี้
๑. การประเมินภายในหรือศักยภาพขององค์กร (Internal assessment of the organization) โดยศึกษาวิเคราะห์
(๑.๑)จุดแข็ง(Strength)ศึกษาพัฒนาเชิงแนวคิดและกระบวนทัศน์คนในองค์กร รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
-  มีการจัดโครงสร้างภายในที่เหมาะสมสอดคล้องกับภารกิจ
การบริหารจัดการยึดหลักธรรมมาภิบาล
มีการแบ่งงาน/มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
-  มีการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินการ
-  บุคลากรมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องการบริหารงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   
-  มีกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสวัสดิการ กลุ่มอาชีพสตรี กลุ่มกีฬาฯลฯ
-  มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรม  และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในอนาคต
(๑.๒)   จุดอ่อน(Weakness) ศึกษากระบวนการพัฒนาที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนา รวมทั้งสภาพของข้อจำกัดเชิงแนวคิด การบริหารจัดการ ข้อจำกัดที่ทำให้องค์กรไม่บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ โดยวิเคราะห์จุดที่เป็นอุปสรรคและถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขเช่น
                   - งบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนา
          ๒. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (External Assessment of the Environment)
          (๒.๑)   โอกาส (Opportunities) วิเคราะห์ความต้องการหรือทิศทางการพัฒนา โอกาสในความเปลี่ยนแปลง และแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ความต้องการใหม่ๆ อีกทั้งศึกษาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้
-นโยบายของรัฐบาล/จังหวัด ที่สนับสนุนการส่งออกสินค้าการเกษตรอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลท่ากระชับ
                (๒.๒) ภาวะคุกคาม หรืออุปสรรค (Threats) ศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการพัฒนาที่เป็นปัจจัยขัดขวาง หรือปัญหาอุปสรรคในความสำเร็จของการพัฒนาองค์กรหรือเป้าหมายงาน อีกทั้งวิเคราะห์ถึงนโยบายและการเปลี่ยนแปลงในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กร เช่นการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
  
                                ๓.๒ การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
แผนพัฒนาตำบลในปีที่ผ่านมาการพัฒนาสามารถดำเนินการได้พอสมควร  แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในทุกโครงการ ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้การดำเนินงานในเชิงปริมาณ การนำแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติสามารถดำเนินการอย่างจำกัด

ส่วนที่ ๔  การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีไปสู่การปฏิบัติ 
                         .  ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนงาน

ที่
ยุทธศาสตร์
ด้าน
แผนงาน
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
หน่วยงานสนับสนุน
๑.
ยุทธศาสตร์           การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-ด้านการเศษฐกิจ
-แผนงานเคหะและชุมชน

-แผนงานการพาณิชย์
-แผนงานการเกษตร
กองช่าง
สำนักปลัด/กองคลัง
๒.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
-ด้านการเศษฐกิจ

-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-แผนงานการเกษตร

-แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
สำนักปลัด
กองช่าง/
กองคลัง
๓.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-แผนงานการศึกษา

-แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
สำนักปลัด
กองช่าง/
กองคลัง
๔.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม
-ด้านบริการชุมชนและสังคม





- ด้านการดำเนินงานอื่น

-ด้านบริหารทั่วไป
-แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ
-แผนงานสาธารณสุข
-แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
-แผนงานสังคมสงเคราะห์

- แผนงานงบกลาง

-แผนงานการรักษาความสงบภายใน
สำนักปลัด
กองช่าง/
กองคลัง
๕.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
-ด้านการเศษฐกิจ

-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-แผนงานการเกษตร

-แผนงานเคหะและชุมชน

สำนักปลัด
กองช่าง/
กองคลัง
๖.
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการที่ดี
-ด้านบริหารทั่วไป

-ด้านบริการชุมชนและสังคม
-แผนงานบริหารงานทั่วไป

-แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
สำนักปลัด
กองช่าง/
กองคลัง
รวม
๑๑



*